คลินิกกายภาพบำบัด เบรน รีแฮบ

ฟื้นฟู สมองที่เสียหาย
พัฒนา การทรงตัว
กลับมามี คุณภาพชีวีตที่ดี
โรคหลอดเลือดสมอง
เส้นเลือดสมองตีบ/แตก/ตัน
✓ อัมพฤกษ์
✓ อัมพาตครึ่งซีก
✓ กล้ามเนื้อมือ และขาอ่อนแรง
โรคหลอดเลือดสมอง
สมองและระบบประสาท
สมองและระบบประสาท เป็นระบบที่สำคัญที่สุดระบบหนึ่งของร่างกาย ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกายทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น การเคลื่อนไหว ความรู้สึก ความคิด อารมณ์ หรือการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ โดยสมองเป็นศูนย์กลางของการรับสัญญาณประสาท และส่งสัญญาณประสาทกลับผ่านทางไขสันหลัง เพื่อไปควบคุมส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
ระบบประสาทแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักคือ ระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System) ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง กับระบบประสาทส่วนปลาย (Peripheral Nervous System) ซึ่งประกอบไปด้วย เส้นประสาท ที่แตกแขนงออกจากสมองและไขสันหลัง ไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น แขน ขา ผิวหนัง ฯลฯ
ระบบประสาทมีหน้าที่สำคัญหลายประการ ได้แก่
อ่านต่อ...
- ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่น เดิน วิ่ง นั่ง นอน ขับรถ ฯลฯ
- รับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้า เช่น การมองเห็น การได้ยิน การสัมผัส หรือการรับรู้ความเจ็บปวด ฯลฯ
- การคิดและวิเคราะห์ข้อมูล สมองเป็นศูนย์กลางของความรู้สึกนึกคิด และความจำ
- ควบคุมอารมณ์และพฤติกรรม เช่น ความโกรธ ความสุข ความรัก ฯลฯ
- ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ เช่น การเต้นของหัวใจ การหายใจ การย่อยอาหาร ฯลฯ
เมื่อระบบประสาทเกิดความเสียหาย อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต ดังนี้
- สูญเสียการควบคุมการเคลื่อนไหว อาจทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง ไม่สามารถทรงตัวได้ เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต ไม่สามารถเคลื่อนไหวส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายได้ตามปกติ
- สูญเสียการรับรู้ เช่น การมองเห็น การได้ยิน การสัมผัส หรือการรับรู้ความเจ็บปวด อาจมีความผิดปกติ ฯลฯ
- มีปัญหาด้านการคิดและวิเคราะห์ข้อมูล เช่น ความสามารถในการคิด การวิเคราะห์ การแก้ปัญหา หรือการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ลดลง ฯลฯ
- มีปัญหาด้านอารมณ์หรือพฤติกรรม เช่น มีอาการหงุดหงิดง่าย มีภาวะซึมเศร้า ฯลฯ
- มีปัญหาเกี่ยวกับการควบคุมการทำงานอวัยวะภายใน เช่น ระบบขับถ่ายผิดปกติ หายใจลำบาก ความดันโลหิตผิดปกติ ฯลฯ
ทั้งนี้ ความรุนแรงของอาการ ขึ้นอยู่กับตำแหน่ง และระดับของความเสียหาย
โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท เช่น
1. โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
เกิดจากเส้นเลือดในสมองตีบ แตก หรือตัน ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ หรือมีเลือดออกในสมอง ทำให้สมองส่วนนั้นๆ เสียหาย เซลล์สมองบางส่วนตาย ทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น แขนขาอ่อนแรง มีปัญหาการทรงตัว มีปัญหาการใช้มือ หน้าเบี้ยว พูดไม่ชัด ฯลฯ
อ่านต่อ...
2. การบาดเจ็บที่สมอง (Traumatic Brain Injury) มักเกิดจากอุบัติเหตุ หรือการถูกกระแทกบริเวณสมองอย่างรุนแรง เช่น อุบัติเหตุทางรถยนต์ ฯลฯ
3. การบาดเจ็บไขสันหลัง (Spinal Cord Injury) มักเกิดจากอุบัติเหตุ หรือการถูกกระแทกบริเวณไขสันหลังอย่างรุนแรง ส่งผลให้ร่างกายส่วนล่างจากระดับที่ไขสันหลังเสียหายลงไป เคลื่อนไหวไม่ได้ มีปัญหาด้านการรับรู้ความรู้สึก รวมถึงอาจมีปัญหาในการควบคุมระบบขับถ่าย
4. โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease) มักเกิดจากความเสื่อมของระบบประสาทที่ทำหน้าที่ผลิตสารโดปามีน ส่งผลให้มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว การทรงตัว ร่างกายสั่น ฯลฯ
5. โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis) เกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายโจมตีปลอกหุ้มเส้นประสาท (Myelin Sheath) ส่งผลให้การส่งสัญญาณประสาทผิดปกติ อาจมีอาการอ่อนแรง มองเห็นภาพซ้อน ฯลฯ
การฟื้นฟูโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke Rehabilitation)
รวมถึงการฟื้นฟูโรคทางระบบประสาทอื่นๆ คือ กระบวนการดูแลและฟื้นฟูทางการแพทย์ ที่มุ่งเน้นการช่วยให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้อย่างถูกต้อง และกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เมื่อสมองหรือเส้นประสาทเสียหาย การฟื้นฟูที่ถูกต้องจะช่วยฝึกฝนให้ระบบประสาทส่วนที่เหลืออยู่ทำงานได้ดีขึ้น เพื่อชดเชยส่วนที่เสียหายไป โดยมีเป้าหมายเพื่อ
- ฟื้นฟูความสามารถในการเคลื่อนไหว เช่น การเดิน การนั่ง การลุกจากเตียง การใช้มือ ฯลฯ รวมถึงการพูด หรือกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน
- ช่วยลดอาการปวด ภาวะแทรกซ้อน หรือความพิการ
- ส่งเสริมสุขภาพจิตให้ดีขึ้น และมีความมั่นใจในตนเอง
- ส่งเสริมให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น
- ช่วยลดการพึ่งพาคนรอบตัว
การฟื้นฟูที่ดีควรเป็นอย่างไร
- ฟื้นฟูเร็วที่สุด เท่าที่เป็นไปได้
- สม่ำเสมอ การฟื้นฟูที่ได้ผลต้องอาศัยวินัยและความต่อเนื่อง
- วางแผนเฉพาะบุคคล ให้เหมาะสมกับอาการ ความรุนแรง และสภาพร่างกายของผู้ป่วย
- มีเป้าหมายชัดเจน และปรับเปลี่ยนแผนการฟื้นฟูเป็นระยะ ให้สอดคล้องกับพัฒนาการของผู้ป่วย
- ครอบครัวมีส่วนร่วม ในการฝึกและดูแล รวมถึงการให้กำลังใจผู้ป่วย
การฟื้นฟูต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของหลายสาขาวิชาชีพ เช่น แพทย์ นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด นักอรรถบำบัด พยาบาล นักจิตวิทยา และครอบครัว โดยมีรูปแบบการฟื้นฟูที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับความสามารถที่สูญเสียไป เช่น
1. กายภาพบำบัด (Physical Therapy)
- ช่วยฝึกการเคลื่อนไหว เดิน ยืน ทรงตัว
- ลดอาการปวด ลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น กล้ามเนื้อฝ่อลีบ ข้อต่อติด ฯลฯ
- เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นและข้อต่อต่างๆ เพิ่มความยืดหยุ่น และพัฒนาการทรงตัว
2. กิจกรรมบำบัด (Occupational Therapy)
- ฝึกทำกิจวัตรประจำวัน เพื่อลดการพึ่งพาคนรอบตัว
- ฝึกทักษะละเอียด เช่น การฝึกใช้มือหรือนิ้ว
3. การฝึกพูด (Speech Therapy)
- ฟื้นฟูทักษะการพูด การออกเสียง และความเข้าใจภาษา
- ฝึกการกลืน ในกรณีที่มีปัญหา
4. การฟื้นฟูด้านจิตใจและอารมณ์
- ลดความเครียด วิตกกังวล หรือซึมเศร้า เพื่อให้สุขภาพจิตดีขึ้น


หลักการของการฟื้นฟู
การฟื้นฟูโรคหลอดเลือดสมอง และโรคทางระบบประสาทอื่นๆ เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่มีแบบแผนและหลักการชัดเจน ซึ่งประกอบด้วยหลักการสำคัญ ดังนี้:
1. อาศัยความสามารถของสมองในการปรับตัว (Neuroplasticity) สมองมีความสามารถในการสร้างการเชื่อมต่อใหม่ๆ ระหว่างเซลล์ประสาทได้ แม้บางจุดจะเสียหายไป ส่วนอื่นสามารถเรียนรู้ หรือทำงานทดแทนส่วนที่เสียหายได้ เพื่อให้สามารถควบคุมการทำงานของร่างกายได้อีกครั้ง
2. การเรียนรู้และการฝึกซ้ำ (Motor Learning) การเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ล้วนต้องอาศัยการฝึกฝนซ้ำๆ เมื่อระบบประสาทเสียหาย ผู้ป่วยจำเป็นต้องเรียนรู้การเคลื่อนไหวใหม่ การฝึกฝนซ้ำๆ จะช่วยให้สมองและกล้ามเนื้อจดจำรูปแบบการเคลื่อนไหว และสามารถทำทักษะนั้นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
3. ปรับให้เหมาะกับแต่ละบุคคล เพราะอาการ ความรุนแรง และสภาพร่างกายของผู้ป่วยแต่ละคนแตกต่างกัน การฟื้นฟูจึงต้องมีการประเมิน และวางแผนเฉพาะบุคคล รวมถึงปรับเปลี่ยนแผนให้เหมาะสมกับพัฒนาการของผู้ป่วย
4. ฟื้นฟูเร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ หลังจากที่อาการคงที่และแพทย์อนุญาต Golden Period คือ ระยะทองของการฟื้นฟู มีงานวิจัยที่ระบุว่า สมองสามารถฟื้นฟูได้ดีที่สุดในช่วง 3 เดือนแรก ซึ่งจะสามารถเห็นพัฒนาการต่างๆอย่างชัดเจน และความเร็วในการฟื้นตัวจะค่อยๆ ลดลงหลัง 6 เดือน แต่การฟื้นฟูหลัง 6 เดือนยังเป็นไปได้ เพียงแค่เราอาจจะเห็นพัฒนาการต่างๆช้าลงเท่านั้นเอง
5. คนรอบตัวต้องมีส่วนร่วม ในการฟื้นฟู และให้กำลังใจผู้ป่วย รวมถึงช่วยในการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยด้วย


กายภาพบำบัด
กายภาพบำบัด (Physical Therapy) เป็นส่วนที่สำคัญในการฟื้นฟูผู้ป่วยฯ เพราะช่วยฟื้นฟูการเคลื่อนไหว และเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วยฯ โดยมีบทบาทสำคัญดังนี้:
1. ฟื้นฟูการเคลื่อนไหว นักกายภาพบำบัดจะตรวจประเมินอย่างละเอียดว่า ปัญหาในการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยมีอะไรที่เกี่ยวข้อง เช่น กล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการเดิน มัดไหนอ่อนแรง เกี่ยวข้องกับการทรงตัวหรือเปล่า การลงน้ำหนักเป็นอย่างไร ข้อต่อเคลื่อนที่ได้เต็มองศาหรือไม่ การประเมินเหล่านี้ จะทำให้เข้าใจสาเหตุของปัญหา และสามารถวางแผนการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการฝึกเดิน การทรงตัว เพื่อให้ผู้ป่วยกลับมาเดินได้อย่างปลอดภัย และลดความเสี่ยงในการหกล้ม
2. เสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยโรคทางระบบประสาท มักมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ นักกายภาพบำบัดจะออกแบบโปรแกรมฝึก เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง ยิดหยุ่น และทนทาน ซึ่งโปรแกรมการฝึกจะเน้นเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่จำเป็นในการใช้ชีวิตประจำวันก่อนเป็นอันดับแรก
3. ฝึกทำกิจวัตรประจำวัน นักกายภาพบำบัดจะช่วยฝึกการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น ฝึกลุกจากเตียง ฝึกนั่งเก้าอี้ ฝึกพลิกตัว ฯลฯ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปลอดภัย
4. ลดอาการปวด นักกายภาพบำบัดจะใช้วิธีหัตถบำบัด (Manual Techniques) เพื่อคลายกล้ามเนื้อ รวมถึงการใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด เช่น เครื่องอัลตราซาวด์ เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า ฯลฯ เพื่อช่วยลดอาการปวดเกร็ง เพื่อรักษาข้อต่อติด รวมถึงเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ
5. ออกแบบโปรแกรมการออกกำลังกายที่บ้าน เพื่อให้การฟื้นตัวเร็วขึ้น เพราะการออกกำลังกายที่บ้านจะช่วยกระตุ้นการฟื้นตัวของสมองและกล้ามเนื้อ รวมถึงช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อน เช่น ข้อต่อติด ฯลฯ
หากคุณหรือคนรอบตัวคุณกำลังเผชิญกับโรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคทางระบบประสาทอื่นๆ การฟื้นฟูด้วยการแพทย์สมัยใหม่ กายภาพบำบัด และการดูแลต่อเนื่องก็สามารถช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพอีกครั้ง การเริ่มต้นฟื้นฟูอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ภายใต้การดูแลผู้เชี่ยวชาญ จะช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นฟูความสามารถที่สูญเสียไป ป้องกันภาวะแทรกซ้อน และกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้
เพราะการฟื้นฟู รอไม่ได้…
บทความ
ออฟฟิศซินโดรมและอาการปวดต่างๆ
ออฟฟิศซินโดรมและการยศาสตร์ (Office Syndrome & Ergonomics)
ปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง (Myofascial Pain Syndrome)
กล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท (Piriformis Syndrome)
ปวดหลังส่วนล่าง (Low Back Pain)
เอ็นข้อศอกด้านนอกอักเสบ (Tennis Elbow)
ภาวะการกดทับเส้นประสาทข้อมือ (Carpal Tunnel Syndrome)

Assessment

Ultrasound

Shockwave

Electrical Stimulation

Gun Massage

Joint Mobilization

Manual Traction

Stretching

Hot/Cold Compress

Exercises

Home Program

Posture Correction
คำถามที่พบบ่อย
กายภาพบำบัด คืออะไร
กายภาพบำบัด เป็นศาสตร์ทางการแพทย์แผนปัจจุบัน ที่มุ่งเน้นการรักษา ส่งเสริม ป้องกันและฟื้นฟูสุขภาพแบบองค์รวม เพื่อช่วยให้คุณภาพชีวิตของคนไข้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การบรรเทาอาการปวด การเพิ่มประสิทธิภาพการเคลื่อนไหว หรือการฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกาย จากอาการบาดเจ็บหรือโรคต่างๆ โดยไม่ต้องใช้ยาและหลีกเลี่ยงการผ่าตัด แบ่งขั้นตอนการรักษาออกเป็น 3 ขั้นตอนหลักๆ ดังนี้
Manual Techniques เป็นเทคนิคในการรักษาด้วยมือ ที่ได้รับการอบรมและฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง เช่น การขยับข้อต่อ เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของข้อต่อและกล้ามเนื้อ (Mobilization) การขยับ ดัด ดึงข้อต่อ (Manipulation) การดึงคอ-ดึงหลัง (Manual Traction) และการยืดกล้ามเนื้อ (Stretching)
Modalities เป็นการใช้เครื่องมือทางกายภาพฯ เพื่อช่วยลดปวดและเสริมสร้างกล้ามเนื้อ เช่น เครื่องช็อคเวฟ เครื่องอัลตราซาวด์ และเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า
Exercises หลังจากที่อาการปวดลดลงแล้วการออกกำลังกายจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ รวมถึงเพื่อป้องกันการบาดเจ็บซ้ำ ในกรณีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จะเน้นการออกกำลังกายเฉพาะส่วนเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกาย เช่น ผู้ป่วยที่มีปัญหาในการเดิน จะเน้นฝึกกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวและกล้ามเนื้อส่วนล่างที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ
กายภาพฯ จะช่วยให้คุณกลับมาเคลื่อนไหวได้อย่างมั่นใจ ลดปวด และใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ…
ทำไมต้อง เบรน รีแฮบ คลินิก?
คนไข้สามารถติดต่อ ปรึกษาปัญหาเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง เรามีการติดตามอาการ ผลการรักษา ตลอดจนให้คำปรึกษาในการดูแลตนเองเบื้องต้น จนกว่าจะถึงนัดหมายครั้งถัดไป
นอกจากนี้ ทั้งสาขาอโศกและสาขานนทบุรี ยังมีที่จอดรถ เดินทางสะดวก อยู่ใกล้รถไฟฟ้า BTS หรือ MRT
อะไรคือ ความแตกต่าง?
นักกายภาพฯ ของเรามีประสบการณ์ทำงานไม่ต่ำกว่า 10 ปี ทำให้เชื่อมั่นได้ว่า คนไข้จะได้รับการรักษาที่ดีที่สุดและปลอดภัยที่สุด
มีการรักษา 8 ขั้นตอนหรือไม่?
ไม่มี เราเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับอาการของคนไข้ เช่น การกระตุ้นไฟฟ้า ไม่ได้เหมาะสมกับการรักษาทุกเคส ดังนั้น เราจึงใช้เวลาเพื่อโฟกัสกับการรักษาที่ได้ผลที่สุด
แล้วแนวทางการรักษา คืออะไร?
1. ตรวจร่างกายอย่างละเอียด ด้วยประสบการณ์ของนักกายภาพฯ แต่ละท่านที่มากกว่า 10 ปี คุณจึงมั่นใจได้ว่า จะได้รับการตรวจวิเคราะห์ที่แม่นยำ ค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการได้อย่างถูกต้อง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการรักษาทางกายภาพบำบัดที่มีประสิทธิภาพและตรงจุด
อาการปวดในตำแหน่งเดียวกัน อาจมีสาเหตุที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล ประสบการณ์ของนักกายภาพฯ ที่คลินิก จะช่วยตรวจประเมิน วางแผนการรักษา และดำเนินการรักษาให้เหมาะสมกับอาการของคุณโดยเฉพาะ เพื่อให้การฟื้นตัวเป็นไปอย่างรวดเร็วและยั่งยืน
หากคนไข้มีอาการที่รุนแรง น่าสงสัย หรือได้รับอุบัติเหตุ เราจะแนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจเพิ่มเติม เช่น X-Ray, CT Scan และ MRI เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ละเอียดยิ่งขึ้น ในทางกลับกัน หากมีผลการตรวจรังสีวินิจฉัยอยู่แล้ว สามารถนำมาใช้ประกอบการรักษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาให้ดียิ่งขึ้น
ในบางกรณี นักกายภาพฯ ของเราจะทำงานร่วมกับแพทย์ในการวางแผนการรักษา และร่วมมือกับ Fitness Trainer ในการออกแบบโปรแกรมการออกกำลังกาย เพื่อให้ผู้ป่วยกลับมาเคลื่อนไหวได้อย่างมั่นใจ และใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพสูงสุด
2. Manual Therapy นักกายภาพฯ ที่คลินิกของเรา ล้วนมีความเชี่ยวชาญด้าน Manual Therapy (หัตถบำบัด) ซึ่งเป็นเทคนิคสำคัญในการบรรเทาอาการอักเสบของจุด Trigger Point ซึ่งมักเป็นสาเหตุหลักของอาการปวดเรื้อรัง การรักษาประกอบด้วยหลายเทคนิค เช่น การยืดกล้ามเนื้อ (Stretching) เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและลดอาการตึงตัว การขยับข้อต่อและเนื้อเยื่อโดยรอบ (Mobilization) เพื่อเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหว และการดึงคอ-หลัง (Manual Traction) เพื่อลดแรงกดทับต่อเส้นประสาท
เทคนิคเหล่านี้ถือเป็นแนวทางการรักษาหลักทางกายภาพฯ ของประเทศสหรัฐอเมริกาและได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายทั่วโลก
3. เครื่องมือ คลินิกของเรายังนำเครื่องมือที่ทันสมัย (Modalities) เช่น เครื่องช็อคเวฟ (Shockwave) เครื่องอัลตราซาวด์ (Ultrasound) และเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า (Electrical Stimulation) มาประกอบการรักษา เพื่อช่วยคลายกล้ามเนื้อ ลดอาการอักเสบ และเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ฯลฯ
ทั้งนี้ นักกายภาพฯ จะเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการรักษาของแต่ละอาการ เช่น ผู้ที่มีภาวะกระดูกเสื่อม ควรหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องช็อคเวฟ (Shockwave) ในการรักษาบริเวณนั้นๆ เพื่อความปลอดภัย เป็นต้น
4. การออกกำลังกาย (Therapeutic Exercises) เป็นอีกหนึ่งในวิธีการรักษาหลักทางกายภาพฯ ในประเทศสหรัฐอเมริกา จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ให้มีความสมดุลกันทั้งสองฝั่ง ช่วยทำให้กล้ามเนื้อยืดหยุ่น เพิ่มองศาการเคลื่อนไหว (Increase Range of Motion) และป้องกันอาการบาดเจ็บซ้ำๆที่จุดเดิม
นอกจากนี้ ยังช่วยปรับท่าทางในการใช้ชีวิตประจำวัน (Posture Correction) ไม่ว่าจะเป็นท่านอน ท่านั่ง ท่ายืนและท่าเดิน ให้ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ (Ergonomics) เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอาการบาดเจ็บในอนาคต
5. ให้ความรู้เกี่ยวกับตัวโรคและติดตามผลการรักษา เรามุ่งเน้นให้คนไข้มีความเข้าใจเกี่ยวกับรอยโรคหรือภาวะที่เป็นอยู่ เพื่อที่จะปฎิบัติตัวได้อย่างเหมาะสม และเพื่อหลี่กเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ นอกจากนี้ เรายังติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง ให้คำปรึกษา คำแนะนำ จนกว่ามั่นใจว่า คนไข้จะสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติอย่างมั่นใจ
สำหรับผู้ที่กำลังมองหา “คลินิกกายภาพบำบัด ใกล้ฉัน” ควรสอบถามแนวทางการรักษา เพื่อให้มั่นใจว่าแนวทางการรักษานั้นเหมาะสมกับตนเอง และอาการที่เป็น อีกทั้ง ควรเลือกคลินิกที่มีนักกายภาพฯ ที่มีประสบการณ์ และความสามารถในการตรวจร่างกายได้อย่างตรงจุด เพื่อการรักษาที่ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด หายเร็ว หายขาด ปลอดภัย และไม่กลับมาเป็นซ้ำ ท่านสามารถปรึกษาอาการเบื้องต้นกับเรา ได้ทางโทรศัพท์หรือทาง LINE OA
หากไม่รักษา เดี๋ยวอาการปวดก็หายไปเอง ใช่หรือไม่?
ร่างกายของเรามีความสามารถในการซ่อมแซมตัวเองได้ แต่เนื่องจาก เราจำเป็นต้องเคลื่อนไหวหรือใช้งานตลอดเวลา ทำให้การซ่อมแซมตัวเองเป็นไปได้ยากมากขึ้น หากมีอาการปวดที่ไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 วัน แนะนำให้เข้ามารักษาทางกายภาพฯ จะช่วยให้หายไวขึ้น อาการปวดจากการบาดเจ็บลดลง และป้องกันไม่ให้อาการเรื้อรัง
ควรเข้ารับการรักษากี่ครั้ง ความถี่เท่าไหร่?
ขึ้นอยู่กับอาการ เช่น อาการเส้นเอ็นอักเสบจะใช้เวลารักษานานกว่ากล้ามเนื้ออักเสบ ส่วนโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ในบางกรณีสามารถรักษาเพื่อบรรเทาอาการปวด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะของโรค
เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพสูงสุด ควรเข้ารับการรักษาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง เพื่อความต่อเนื่องของการรักษาและช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูได้เร็วขึ้น
แม้ว่าระดับความทนต่อความเจ็บปวดของแต่ละคนจะแตกต่างกัน แต่การเข้ารับการรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการ จะช่วยให้หายเร็วและไม่เรื้อรัง
อาการดีขึ้นแล้ว ไม่จำเป็นต้องรักษาต่อหรือหยุดการรักษาได้ จริงหรือไม่?
การรักษาทางกายภาพฯ จำเป็นต้องใช้ความต่อเนื่องในการเข้ารับการรักษา เพื่อให้หายขาด และป้องกันไม่ให้อาการกลับมา เนื่องจากคลื่นไฟฟ้าที่ใช้ในการรักษา จะได้ผลเฉพาะในช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น หากคนไข้หยุดการรักษากลางคัน ก็เปรียบเสมือนกับการรับประทานยาที่ไม่ครบโดส ซึ่งอาจทำให้มีโอกาสกลับมาเป็นใหม่ หรือกลายเป็นอาการเรื้อรังได้
จากสถิติของทางคลินิกฯ คนไข้ที่ได้รับการรักษาจนหายขาด จะไม่กลับมาเป็นซ้ำที่ตำแหน่งเดิม ภายในระยะเวลา 6 เดือน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการปรับพฤติกรรมของคนไข้ด้วย
การออกกำลังกายโดยนักกายภาพฯ แตกต่างจากการออกกำลังกายทั่วไปอย่างไร?
การออกกำลังกายทางกายภาพฯ ไม่ได้เหมือนกับการออกกำลังกายทั่วไป เพราะเราจะเน้นการเสริมสร้างกล้ามเนื้อบริเวณที่มีปัญหา และออกแบบการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายและปัญหาสุขภาพของแต่ละบุคคล ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่อ่อนแอ และป้องกันการบาดเจ็บซ้ำที่จุดเดิม
นอกจากการรักษาแล้ว ยังเหมือนมีเทรนเนอร์ส่วนตัว ที่ช่วยออกแบบท่าออกกำลังกายเฉพาะบุคคลในการรักษาแต่ละครั้ง ให้เหมาะกับสภาพกล้ามเนื้อ ณ ขณะนั้น
โรคอะไรที่ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีทางกายภาพฯ?
นัดหมาย
085-9966-353Business Hours
วันเสาร์-อาทิตย์: 9.30 - 18.30 น.
Location
Parking
Business Hours
วันเสาร์-อาทิตย์: 9.30 - 18.30 น.
Location
Parking
ที่จอดรถ เลี้ยวเข้าซอย อยู่หัวมุม