การฝึกสควอช (Squat) ที่ถูกต้อง

ฝึกสควอช (Squat) ยังไง ไม่ให้ปวดเข่า???
Squat เป็นท่าออกกำลังกายพื้นฐานท่าหนึ่งในปัจจุบัน เป็นการออกกำลังกายกล้ามเนื้อส่วนล่างของร่างกาย แต่เรามักจะเห็นคำกล่าวที่ว่า “Squat เข่าห้ามเลยปลายเท้า เพราะจะทำให้ปวดเข่า” คำกล่าวนี้ จริงหรือไม่ มาติดตามกัน…
การฝึกสควอช (Squat) คืออะไร
วิธีการฝึก Squat เป็นท่าที่เราค่อยๆย่อลำตัวลง หัวเข่าค่อยๆงอ เพื่อให้ลำตัวค่อยๆย่อลงมา ในลักษณะเดียวกับท่านั่ง ซึ่งเป็นลักษณะการเคลื่อนไหวที่เราใช้ในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว
เราคงไม่ได้มาสังเกตใช่มั้ยว่า ตอนเรานั่ง เข่าเลยปลายเท้าหรือเปล่า ตราบใดที่เราไม่มีอาการปวดเข่า แต่จริงๆแล้ว ในชีวิตประจำวัน มีการเคลื่อนไหวที่มีแรงกระทำต่อเข่ามากกว่าการทำ Squat เช่น การขึ้น-ลงบันได การวิ่ง ฯลฯ ถ้าการทำกิจกรรมเหล่านี้ไม่มีปัญหาอะไร “Squat เข่าเลยปลายเท้า ก็ไม่ทำให้ปวดเข่า หรือเกิดอันตรายแต่อย่างใด”
แต่ต้องระวังไม่ให้เข่าบิดหรือหมุนเข้าด้านในมากเกินไป เช่น ผู้ที่ข้อเท้ามีความยืดหยุ่นไม่ดี นั่งยองๆ แล้วหงายหลัง หรือ ข้อเท้าบิดขณะทำ Squat อาจทำให้เกิดแรงที่กระทำต่อเข่ามากเกินไป ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อข้อเข่าได้
*** บางท่านที่มีกระดูกต้นขายาว อาจจะทำให้เข่าเลยปลายเท้า ในท่า Squat

ท่าฝึกสควอช (Squat) ที่ถูกต้อง

สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ต้องฝึก Squat ในท่าทางที่ถูกต้อง ดังนี้
- ยืนแยกเท้าออก ให้เท้ากว้างประมาณช่วงไหล่ (หรือมากกว่านิดหน่อยในกรณีน้ำหนักตัวเยอะ) ปลายเท้าเปิดออกเล็กน้อย
- ย่อเข่า หย่อนสะโพกลงช้าๆ ให้ระดับอยู่บริเวณหัวเข่า หลังตรง
- เข่าชี้ไปในแนวเดียวกับปลายเท้า ไม่ควรบิดหรือหมุนเข้าด้านใน
- พยายามยืนให้มั่นคง น้ำหนักกระจายทั่วฝ่าเท้า (ในระยะเริ่มแรก สามารถกางแขนเพื่อช่วยในเรื่องการทรงตัว)
- ฝึกควบคุมลมหายใจตามหลัก “ออกแรง หายใจออก” (ลง-หายใจเข้า ขึ้น-หายใจออก)
- กลับไปยืนในท่าเริ่มต้นอย่างช้าๆ
***หากฝึก Squat แล้วรู้สึกเจ็บที่หัวเข่า อาจจะเกิดจากการออกกำลังกายในท่าทางที่ผิด หรือมีปัญหาเกี่ยวกับหัวเข่าอยู่แล้ว แนะนำให้หยุดออกกำลังกาย ประคบเย็นและปรึกษานักกายภาพบำบัด
การฝึกสควอช (Squat) ช่วยอะไร
การฝึก Squat ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อส่วนล่างของร่างกาย
- กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า
- กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง
- กล้ามเนื้อสะโพก
- กล้ามเนื้อหน้าท้อง
- กล้ามเนื้อรอบหัวเข่า

หากปวดเข่าอยู่แล้ว ทำอย่างไร?

คนที่มีปัญหาปวดเข่าอยู่แล้ว เช่น เคยบาดเจ็บรุนแรง หรือเคยผ่าตัดเข่ามาก่อน ควรปรึกษานักกายภาพบำบัดก่อนการออกกำลังกาย เพื่อประเมินพยาธิสภาพ วางแผนท่าออกกำลังกายที่เหมาะสม และแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด
การที่มีอาการปวดเข่า แล้วหลีกเลี่ยงไม่ใช้งาน เช่น ปวดเข่าตอนขึ้น-ลงบันได เลยหลีกเลี่ยงการใช้บันได หรือปวดเข่าตอนเดินเยอะๆ เลยหลีกเลี่ยงการเดิน ฯลฯ เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เพราะการหลีกเลี่ยงกิจกรรมดังกล่าว เหมาะกับช่วงอักเสบ (Acute Phase) เท่านั้น คนไข้ควรเข้ารับการรักษาและฟื้นฟูที่เหมาะสม ตั้งแต่มีอาการเริ่มแรก มิฉะนั้น อาจจะส่งผลให้ปวดเข่าเรื้อรังได้
อาการปวดเข่าในการทำกิจกรรมต่างๆ สามารถรักษาทางกายภาพบำบัดได้ ทางคลินิกกายภาพบำบัด เบรน รีแฮบ ยินดีให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่มีปัญหาปวดเข่าทุกๆท่าน…

Assessment

Ultrasound

Shockwave

Electrical Stimulation

Gun Massage

Joint Mobilization

Manual Traction

Stretching

Hot/Cold Compress

Exercises

Home Program

Posture Correction
คำถามที่พบบ่อย
กายภาพบำบัด คืออะไร
กายภาพบำบัด เป็นศาสตร์ทางการแพทย์แผนปัจจุบัน ที่มุ่งเน้นการรักษา ส่งเสริม ป้องกันและฟื้นฟูสุขภาพแบบองค์รวม เพื่อช่วยให้คุณภาพชีวิตของคนไข้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การบรรเทาอาการปวด การเพิ่มประสิทธิภาพการเคลื่อนไหว หรือการฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกาย จากอาการบาดเจ็บหรือโรคต่างๆ โดยไม่ต้องใช้ยาและหลีกเลี่ยงการผ่าตัด แบ่งขั้นตอนการรักษาออกเป็น 3 ขั้นตอนหลักๆ ดังนี้
Manual Techniques เป็นเทคนิคในการรักษาด้วยมือ ที่ได้รับการอบรมและฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง เช่น การขยับข้อต่อ เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของข้อต่อและกล้ามเนื้อ (Mobilization) การขยับ ดัด ดึงข้อต่อ (Manipulation) การดึงคอ-ดึงหลัง (Manual Traction) และการยืดกล้ามเนื้อ (Stretching)
Modalities เป็นการใช้เครื่องมือทางกายภาพฯ เพื่อช่วยลดปวดและเสริมสร้างกล้ามเนื้อ เช่น เครื่องช็อคเวฟ เครื่องอัลตราซาวด์ และเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า
Exercises หลังจากที่อาการปวดลดลงแล้วการออกกำลังกายจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ รวมถึงเพื่อป้องกันการบาดเจ็บซ้ำ ในกรณีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จะเน้นการออกกำลังกายเฉพาะส่วนเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกาย เช่น ผู้ป่วยที่มีปัญหาในการเดิน จะเน้นฝึกกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวและกล้ามเนื้อส่วนล่างที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ
กายภาพฯ จะช่วยให้คุณกลับมาเคลื่อนไหวได้อย่างมั่นใจ ลดปวด และใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ…
ทำไมต้อง เบรน รีแฮบ คลินิก?
คนไข้สามารถติดต่อ ปรึกษาปัญหาเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง เรามีการติดตามอาการ ผลการรักษา ตลอดจนให้คำปรึกษาในการดูแลตนเองเบื้องต้น จนกว่าจะถึงนัดหมายครั้งถัดไป
นอกจากนี้ ทั้งสาขาอโศกและสาขานนทบุรี ยังมีที่จอดรถ เดินทางสะดวก อยู่ใกล้รถไฟฟ้า BTS หรือ MRT
อะไรคือ ความแตกต่าง?
นักกายภาพฯ ของเรามีประสบการณ์ทำงานไม่ต่ำกว่า 10 ปี ทำให้เชื่อมั่นได้ว่า คนไข้จะได้รับการรักษาที่ดีที่สุดและปลอดภัยที่สุด
มีการรักษา 8 ขั้นตอนหรือไม่?
ไม่มี เราเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับอาการของคนไข้ เช่น การกระตุ้นไฟฟ้า ไม่ได้เหมาะสมกับการรักษาทุกเคส ดังนั้น เราจึงใช้เวลาเพื่อโฟกัสกับการรักษาที่ได้ผลที่สุด
แล้วแนวทางการรักษา คืออะไร?
1. ตรวจร่างกายอย่างละเอียด ด้วยประสบการณ์ของนักกายภาพฯ แต่ละท่านที่มากกว่า 10 ปี คุณจึงมั่นใจได้ว่า จะได้รับการตรวจวิเคราะห์ที่แม่นยำ ค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการได้อย่างถูกต้อง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการรักษาทางกายภาพบำบัดที่มีประสิทธิภาพและตรงจุด
อาการปวดในตำแหน่งเดียวกัน อาจมีสาเหตุที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล ประสบการณ์ของนักกายภาพฯ ที่คลินิก จะช่วยตรวจประเมิน วางแผนการรักษา และดำเนินการรักษาให้เหมาะสมกับอาการของคุณโดยเฉพาะ เพื่อให้การฟื้นตัวเป็นไปอย่างรวดเร็วและยั่งยืน
หากคนไข้มีอาการที่รุนแรง น่าสงสัย หรือได้รับอุบัติเหตุ เราจะแนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจเพิ่มเติม เช่น X-Ray, CT Scan และ MRI เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ละเอียดยิ่งขึ้น ในทางกลับกัน หากมีผลการตรวจรังสีวินิจฉัยอยู่แล้ว สามารถนำมาใช้ประกอบการรักษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาให้ดียิ่งขึ้น
ในบางกรณี นักกายภาพฯ ของเราจะทำงานร่วมกับแพทย์ในการวางแผนการรักษา และร่วมมือกับ Fitness Trainer ในการออกแบบโปรแกรมการออกกำลังกาย เพื่อให้ผู้ป่วยกลับมาเคลื่อนไหวได้อย่างมั่นใจ และใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพสูงสุด
2. Manual Therapy นักกายภาพฯ ที่คลินิกของเรา ล้วนมีความเชี่ยวชาญด้าน Manual Therapy (หัตถบำบัด) ซึ่งเป็นเทคนิคสำคัญในการบรรเทาอาการอักเสบของจุด Trigger Point ซึ่งมักเป็นสาเหตุหลักของอาการปวดเรื้อรัง การรักษาประกอบด้วยหลายเทคนิค เช่น การยืดกล้ามเนื้อ (Stretching) เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและลดอาการตึงตัว การขยับข้อต่อและเนื้อเยื่อโดยรอบ (Mobilization) เพื่อเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหว และการดึงคอ-หลัง (Manual Traction) เพื่อลดแรงกดทับต่อเส้นประสาท
เทคนิคเหล่านี้ถือเป็นแนวทางการรักษาหลักทางกายภาพฯ ของประเทศสหรัฐอเมริกาและได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายทั่วโลก
3. เครื่องมือ คลินิกของเรายังนำเครื่องมือที่ทันสมัย (Modalities) เช่น เครื่องช็อคเวฟ (Shockwave) เครื่องอัลตราซาวด์ (Ultrasound) และเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า (Electrical Stimulation) มาประกอบการรักษา เพื่อช่วยคลายกล้ามเนื้อ ลดอาการอักเสบ และเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ฯลฯ
ทั้งนี้ นักกายภาพฯ จะเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการรักษาของแต่ละอาการ เช่น ผู้ที่มีภาวะกระดูกเสื่อม ควรหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องช็อคเวฟ (Shockwave) ในการรักษาบริเวณนั้นๆ เพื่อความปลอดภัย เป็นต้น
4. การออกกำลังกาย (Therapeutic Exercises) เป็นอีกหนึ่งในวิธีการรักษาหลักทางกายภาพฯ ในประเทศสหรัฐอเมริกา จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ให้มีความสมดุลกันทั้งสองฝั่ง ช่วยทำให้กล้ามเนื้อยืดหยุ่น เพิ่มองศาการเคลื่อนไหว (Increase Range of Motion) และป้องกันอาการบาดเจ็บซ้ำๆที่จุดเดิม
นอกจากนี้ ยังช่วยปรับท่าทางในการใช้ชีวิตประจำวัน (Posture Correction) ไม่ว่าจะเป็นท่านอน ท่านั่ง ท่ายืนและท่าเดิน ให้ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ (Ergonomics) เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอาการบาดเจ็บในอนาคต
5. ให้ความรู้เกี่ยวกับตัวโรคและติดตามผลการรักษา เรามุ่งเน้นให้คนไข้มีความเข้าใจเกี่ยวกับรอยโรคหรือภาวะที่เป็นอยู่ เพื่อที่จะปฎิบัติตัวได้อย่างเหมาะสม และเพื่อหลี่กเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ นอกจากนี้ เรายังติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง ให้คำปรึกษา คำแนะนำ จนกว่ามั่นใจว่า คนไข้จะสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติอย่างมั่นใจ
สำหรับผู้ที่กำลังมองหา “คลินิกกายภาพบำบัด ใกล้ฉัน” ควรสอบถามแนวทางการรักษา เพื่อให้มั่นใจว่าแนวทางการรักษานั้นเหมาะสมกับตนเอง และอาการที่เป็น อีกทั้ง ควรเลือกคลินิกที่มีนักกายภาพฯ ที่มีประสบการณ์ และความสามารถในการตรวจร่างกายได้อย่างตรงจุด เพื่อการรักษาที่ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด หายเร็ว หายขาด ปลอดภัย และไม่กลับมาเป็นซ้ำ ท่านสามารถปรึกษาอาการเบื้องต้นกับเรา ได้ทางโทรศัพท์หรือทาง LINE OA
หากไม่รักษา เดี๋ยวอาการปวดก็หายไปเอง ใช่หรือไม่?
ร่างกายของเรามีความสามารถในการซ่อมแซมตัวเองได้ แต่เนื่องจาก เราจำเป็นต้องเคลื่อนไหวหรือใช้งานตลอดเวลา ทำให้การซ่อมแซมตัวเองเป็นไปได้ยากมากขึ้น หากมีอาการปวดที่ไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 วัน แนะนำให้เข้ามารักษาทางกายภาพฯ จะช่วยให้หายไวขึ้น อาการปวดจากการบาดเจ็บลดลง และป้องกันไม่ให้อาการเรื้อรัง
ควรเข้ารับการรักษากี่ครั้ง ความถี่เท่าไหร่?
ขึ้นอยู่กับอาการ เช่น อาการเส้นเอ็นอักเสบจะใช้เวลารักษานานกว่ากล้ามเนื้ออักเสบ ส่วนโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ในบางกรณีสามารถรักษาเพื่อบรรเทาอาการปวด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะของโรค
เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพสูงสุด ควรเข้ารับการรักษาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง เพื่อความต่อเนื่องของการรักษาและช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูได้เร็วขึ้น
แม้ว่าระดับความทนต่อความเจ็บปวดของแต่ละคนจะแตกต่างกัน แต่การเข้ารับการรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการ จะช่วยให้หายเร็วและไม่เรื้อรัง
อาการดีขึ้นแล้ว ไม่จำเป็นต้องรักษาต่อหรือหยุดการรักษาได้ จริงหรือไม่?
การรักษาทางกายภาพฯ จำเป็นต้องใช้ความต่อเนื่องในการเข้ารับการรักษา เพื่อให้หายขาด และป้องกันไม่ให้อาการกลับมา เนื่องจากคลื่นไฟฟ้าที่ใช้ในการรักษา จะได้ผลเฉพาะในช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น หากคนไข้หยุดการรักษากลางคัน ก็เปรียบเสมือนกับการรับประทานยาที่ไม่ครบโดส ซึ่งอาจทำให้มีโอกาสกลับมาเป็นใหม่ หรือกลายเป็นอาการเรื้อรังได้
จากสถิติของทางคลินิกฯ คนไข้ที่ได้รับการรักษาจนหายขาด จะไม่กลับมาเป็นซ้ำที่ตำแหน่งเดิม ภายในระยะเวลา 6 เดือน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการปรับพฤติกรรมของคนไข้ด้วย
การออกกำลังกายโดยนักกายภาพฯ แตกต่างจากการออกกำลังกายทั่วไปอย่างไร?
การออกกำลังกายทางกายภาพฯ ไม่ได้เหมือนกับการออกกำลังกายทั่วไป เพราะเราจะเน้นการเสริมสร้างกล้ามเนื้อบริเวณที่มีปัญหา และออกแบบการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายและปัญหาสุขภาพของแต่ละบุคคล ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่อ่อนแอ และป้องกันการบาดเจ็บซ้ำที่จุดเดิม
นอกจากการรักษาแล้ว ยังเหมือนมีเทรนเนอร์ส่วนตัว ที่ช่วยออกแบบท่าออกกำลังกายเฉพาะบุคคลในการรักษาแต่ละครั้ง ให้เหมาะกับสภาพกล้ามเนื้อ ณ ขณะนั้น
โรคอะไรที่ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีทางกายภาพฯ?
นัดหมาย
085-9966-353Business Hours
วันเสาร์-อาทิตย์: 9.30 - 18.30 น.
Location
Parking
Business Hours
วันเสาร์-อาทิตย์: 9.30 - 18.30 น.
Location
Parking
ที่จอดรถ เลี้ยวเข้าซอย อยู่หัวมุม