ปวดไหล่ (Shoulder Pain)
ปวดไหล่ (Shoulder Pain)
มาเช็คกันว่า อาการปวดไหล่ของคุณอยู่ในข้อไหน… A. ปวดหัวไหล่/ข้างไหล่ B. ยกแขนได้ไม่สุด เอามือไขว้หลังไม่ได้ ไหล่ติด C. ปวดข้อไหล่จากด้านใน หรือไม่สามารถระบุตำแหน่งในการปวดได้ D. ปวดตามแนวเส้นประสาทจากไหล่ ลงมาข้อศอก มือและนิ้ว
A. หากคุณปวดหัวไหล่ ปวดบริเวณข้างไหล่ หรือรู้สึกอ่อนแรงไปจนถึงบริเวณแขนและมือ คุณอาจจะมีอาการ Shoulder Pain/Shoulder imprint หรือปวดข้อไหล่
อาการ : ปวดอาจจะเกิดขึ้นเฉียบพลันหรือค่อยๆเกิดขึ้นทีละน้อย อาจมีอาการชาหรือร้าวร่วมด้วย หรือรู้สึกอ่อนแรงไปจนถึงบริเวณแขน
วิธีการดูแลตัวเองเบื้องต้น : 1. หลีกเลี่ยงการใช้งานส่วนที่ปวด หรือทำกิจกรรมที่ทำให้เกิดอาการปวด รวมถึงหลีกเลี่ยงการนอนทับข้อไหล่ที่มีอาการปวด 2. งดกิจกรรมนวดสปา หรือนวดผ่อนคลายเนื่องจากอาจทำให้อาการเรื้อรังมากกว่าเดิม 3. หากมีอาการอักเสบ ปวด บวม บริเวณไหล่มีอุณหภูมิที่สูงกว่าข้างปกติ แดงกว่าปกติ แนะนำให้งดใช้งาน และประคบเย็นบริเวณหัวไหล่ เพื่อลดการอักเสบ
หมายเหตุ : บทความนี้เป็นการประเมินเบื้องต้น ไม่สามารถนำมาอ้างอิงว่าเป็นการวินิจฉัยทางการแพทย์ได้ แนะนำให้เข้ามาตรวจร่างกายอย่างละเอียดกับนักกายภาพบำบัด เพื่อตรวจหาสาเหตุของอาการปวด รวมถึงวางแผนการรักษาอย่างตรงจุด
B. หากคุณยกแขนได้ไม่สุด เอามือไขว้หลังไม่ได้ คุณอาจจะมีอาการ Frozen Shoulder หรือไหล่ติด
อาการ : ปวดหัวไหล่อย่างรุนแรงจนรบกวนการพักผ่อนในเวลากลางคืน เมื่อเป็นระยะเวลานานขึ้น ส่วนใหญ่จะมีอาการชาและสามารถขยับแขนได้ในองศาที่น้อยลง เมื่อระยะเวลาผ่านไปนานขึ้น ก็จะทำให้ไหล่นั้นยึดติดมากขึ้น
วิธีการดูแลตัวเองเบื้องต้น : 1. หลีกเลี่ยงการใช้งานหากมีอาการปวดร้าวมาก หรืองดทำกิจกรรมที่ทำให้เกิดอาการปวด 2. กินยาแก้ปวด ในกรณีที่มีอาการปวดมาก 3. ออกกำลังกายหัวไหล่ เพื่อเพิ่มการเคลื่อนไหว หรือคงองศาการเคลื่อนไหวไม่ให้ลดลง เช่น ยกแขน หมุนหัวไหล่(ตาม/ทวนเข็มนาฬิกา) และที่สำคัญที่สุด ให้ขยับข้อไหล่ในองศาที่ไม่เกิดอาการเจ็บ เพื่อลดการบาดเจ็บซ้ำในหัวไหล่ 4. งดกิจกรรมนวดสปา หรือนวดผ่อนคลายเนื่องจากอาจทำให้อาการเรื้อรังมากกว่าเดิม
หมายเหตุ : บทความนี้เป็นการประเมินเบื้องต้น ไม่สามารถนำมาอ้างอิงว่าเป็นการวินิจฉัยทางการแพทย์ได้ แนะนำให้เข้ามาตรวจร่างกายอย่างละเอียดกับนักกายภาพบำบัด เพื่อตรวจหาสาเหตุของอาการปวด รวมถึงวางแผนการรักษาอย่างตรงจุด
C. หากคุณปวดข้อไหล่จากด้านใน หรือไม่สามารถระบุตำแหน่งในการปวดได้ คุณอาจจะมีอาการ Rotator Cuff Teared หรือเอ็นข้อไหล่ฉีก
อาการ : ปวดหัวไหล่บริเวณด้านหน้า ในเวลากลางคืน จะรู้สึกปวดร้าวมากยิ่งขึ้น ถ้ามีอาการฉีกขาดมาก อาจจะไม่สามารถยกแขนได้เลย และหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม เอ็นหัวไหล่จะฉีกขาดมากยิ่งขึ้น และทำให้ข้อไหล่เสื่อมในที่สุด ในบางเคส อาจพบภาวะอ่อนแรงร่วมด้วย ไม่สามารถยกไหล่ได้ หรือมีภาวะข้อไหล่หลวม
วิธีการดูแลตัวเองเบื้องต้น : 1. หลีกเลี่ยงการใช้งานในท่าที่มีอาการปวด 2-3 วัน 2. กินยาแก้ปวด ในกรณีที่มีอาการปวดมาก 3. ทำกายภาพบำบัด เพื่อบริหารข้อไหล่ อาการปวดจะลดลง 4. ไปพบแพทย์เมื่อไหล่บวมนานกว่า 14 วัน หรือมีอาการชา อาการอ่อนแรงของแขนและไหล่
หมายเหตุ : บทความนี้เป็นการประเมินเบื้องต้น ไม่สามารถนำมาอ้างอิงว่าเป็นการวินิจฉัยทางการแพทย์ได้ แนะนำให้เข้ามาตรวจร่างกายอย่างละเอียดกับนักกายภาพบำบัด เพื่อตรวจหาสาเหตุของอาการปวด รวมถึงวางแผนการรักษาอย่างตรงจุด
D. หากคุณปวดตามเส้นประสาทจากไหล่ ลงมาปลายนิ้ว คุณอาจจะมีอาการ Herniated Nucleus Pulposus หรือ หมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท
อาการ : ปวดตามเส้นประสาทจากไหล่ ลงมาถึงปลายนิ้ว อาจจะมีอาการชา หรืออ่อนแรงจนสังเกตุได้ ในบางเคส อาจพบว่า ช่วงการเคลื่อนไหวของศีรษะและคอลดลง รวมถึงมีอาการปวดเวลานอน
วิธีการดูแลตัวเองเบื้องต้น : 1. หลีกเลี่ยงการใช้งานส่วนที่ปวด หรือทำกิจกรรมที่ทำให้เกิดอาการปวด 2. กินยาแก้ปวด ในกรณีที่มีอาการปวดมาก 3. ทำกายภาพบำบัด เพื่อบริหารข้อไหล่ อาการปวดจะลดลง 4. ไปพบแพทย์เมื่อมีอาการปวด อ่อนแรงของแขนและไหล่มากจนไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้
หมายเหตุ : บทความนี้เป็นการประเมินเบื้องต้น ไม่สามารถนำมาอ้างอิงว่าเป็นการวินิจฉัยทางการแพทย์ได้ แนะนำให้เข้ามาตรวจร่างกายอย่างละเอียดกับนักกายภาพบำบัด เพื่อตรวจหาสาเหตุของอาการปวด รวมถึงวางแผนการรักษาอย่างตรงจุด
Assessment
Ultrasound
Shockwave (Asoke)
Electrical Stimulation
Gun Massage
Joint Mobilization
Manual Traction
Stretching
Hot/Cold Compress
Exercises
Home Program
Posture Correction
รักษา ปวด หัว ไหล่, กายภาพ ปวด หัว ไหล่