• ไทย
  • English

คลินิกกายภาพบำบัด เบรน รีแฮบ

กายภาพบำบัด

กายภาพบำบัด คืออะไร

กายภาพบำบัด

เป็นศาสตร์ทางการแพทย์แผนปัจจุบัน ​ที่มุ่งเน้นการรักษา ส่งเสริม ป้องกันและฟื้นฟูสุขภาพแบบองค์รวม โดยจะพิจารณาถึงต้นเหตุของปัญหา ความเกี่ยวเนื่องกับระบบต่างๆ ของร่างกาย และกิจวัตรประจำวันต่างๆ ของคนไข้ เพื่อช่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การบรรเทาอาการปวด การเพิ่มประสิทธิภาพการเคลื่อนไหว การฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกาย รวมถึง การให้ความรู้ความเข้าใจในรอยโรค เพื่อให้สามารถดูแลตนเอง และป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำอีก โดยไม่ต้องใช้ยาและหลีกเลี่ยงการผ่าตัด แบ่งการรักษาออกเป็น 3 ขั้นตอนหลักๆ ดังนี้

1. Manual Techniques

เป็นเทคนิคในการรักษาด้วยมือ ที่นักกายภาพฯ ได้รับการอบรมและฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง เช่น การขยับข้อต่อ เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของข้อต่อและกล้ามเนื้อ (Mobilization) การขยับ-ดัด-ดึงข้อต่อ (Manipulation) การดึงคอ-ดึงหลัง (Manual Traction) และการยืดกล้ามเนื้อ (Stretching) ฯลฯ

2. Modalities

เป็นการใช้เครื่องมือทางกายภาพฯ เพื่อช่วยลดอาการปวดและเสริมสร้างกล้ามเนื้อ เช่น เครื่องช็อคเวฟ เครื่องอัลตราซาวด์ และเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า ฯลฯ

3. Therapeutic Exercises

หลังจากที่อาการปวดลดลงแล้ว ​การออกกำลังกายจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น ความแข็งแรง และความทนทานของกล้ามเนื้อและข้อต่อ เพื่อลดโอกาสบาดเจ็บซ้ำ ในกรณีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จะเน้นการออกกำลังกายเฉพาะส่วนเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกาย เช่น ผู้ป่วยที่มีปัญหาในการเดิน จะเน้นฝึกกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวและกล้ามเนื้อส่วนล่างที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ 

การขยับข้อต่อทางกายภาพบำบัด
การยืดกล้ามเนื้อ
เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าช่วยลดอาการปวด
การออกกำลังกายเฉพาะส่วนเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกาย

ขอบเขตของกายภาพฯ

กายภาพบำบัด ไม่ได้ครอบคลุมเพียงแค่รักษาอาการปวด หรือฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงการฟื้นฟูต่างๆ ดังนี้

  • ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ (Musculoskeletal System)
  • ระบบประสาท (Neurological System)
  • ระบบทรวงอกและหลอดเลือดหัวใจ (Cardiopulmonary System)
  • กายภาพบำบัดในเด็ก (Pediatric Physical Therapy)
  • กายภาพบำบัดในผู้สูงอายุ (Geriatric Physical Therapy)
  • สุขภาพสตรี (Women’s Health)

บทบาทของกายภาพฯ

1. ลดอาการปวด

เป็นเคสที่พบบ่อยที่สุดในคลินิกฯ ไม่ว่าจะเป็นระยะเฉียบพลันหรือระยะเรื้อรัง นักกายภาพฯ จะใช้เทคนิคต่างๆ ในการรักษาอาการอักเสบของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และข้อต่อต่างๆ เช่น การยืดกล้ามเนื้อ (Stretching) การขยับข้อต่อ (Mobilization) การดึงคอ-หลัง (Manual Traction) ฯลฯ ประกอบกับการใช้เครื่องมือทางกายภาพฯ เช่น อัลตราซาวด์ (Ultrasound) ช็อคเวฟ (Shockwave) เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า (Electrical Stimulation) ฯลฯ เพื่อฟื้นฟูอาการบาดเจ็บได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ

ไม่ว่าจะเป็นออฟฟิศซินโดรมหรือโรคหลอดเลือดสมอง ล้วนต้องการโปรแกรมการออกกำลังกายเฉพาะบุคคล เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อเฉพาะส่วน ส่งผลให้กล้ามเนื้อแข็งแรง ยืดหยุ่น และทนทาน สามารถรองรับกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้ กล้ามเนื้อที่แข็งแรง ยังช่วยป้องกันการบาดเจ็บซ้ำอีกด้วย

3. เพิ่มองศาการเคลื่อนไหว

ในกรณีที่ข้อต่อติด เช่น ไหล่ติด ศอกติด เข่าติด ฯลฯ นักกายภาพฯ จะใช้ Manual Techniques เช่น การขยับข้อต่อ การยืดกล้ามเนื้อ ฯลฯ ร่วมกับเครื่องมือทางกายภาพฯ รักษาเส้นเอ็นที่อักเสบ เพื่อเพิ่มองศาของการเคลื่อนไหว (Range of Motion) ส่งผลให้คนไข้สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ

4. ฟื้นฟูสมรรถภาพ

ไม่ว่าจะเป็นอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา หลังการผ่าตัด ผู้สูงอายุ หรือโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) กายภาพฯ มีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกาย เช่น ฝึกการทรงตัว ฯลฯ เพื่อให้คนไข้สามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ และลดการพึ่งพาคนรอบตัว

5. ให้ความรู้ความเข้าใจ

นอกเหนือจากการรักษาและการฟื้นฟูต่างๆ แล้ว นักกายภาพฯ จะให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับรอยโรค เพื่อทำให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง และเพื่อลดความเสี่ยงต่างๆ เช่น การปรับเปลี่ยนท่าทางในการทำงานให้เหมาะสม ฯลฯ

รวมถึงแนะนำการออกกำลังกายที่เหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการบาดเจ็บซ้ำ

กายภาพบำบัดลดปวด
โปรแกรมการออกกำลังกายเฉพาะบุคคลช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
กายภาพบำบัดช่วยเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวข้อต่อต่างๆ
กายภาพฯ มีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกาย

เหมาะสำหรับใคร?

  • พนักงานออฟฟิศ

    สำหรับผู้ที่ต้องนั่งหรือยืนทำงานต่อเนื่องเป็นเวลานาน มักจะมีอาการปวดคอ ปวดบ่า ปวดไหล่ ปวดหลัง ปวดขา หรือที่เรียกว่า “ออฟฟิศซินโดรม” ทางคลินิกฯ สามารถบรรเทาอาการปวด เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้ รวมถึง การให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดสภาพแวดล้อมการทำงานที่ถูกต้อง ตามหลักการยศาสตร์ (Ergonomics) การปรับเปลี่ยนท่าทางให้เหมาะสม (Posture Correction) การปรับเปลี่ยนอิริยาบถ และ การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความทนทานและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ไม่ให้กลับมาบาดเจ็บซ้ำ ฯลฯ

  • ผู้ที่ปวดเรื้อรัง

    เช่น ปวดหลังเรื้อรัง ปวดเข่าเรื้อรัง ฯลฯ กายภาพฯ สามารถช่วยให้คนไข้สามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ

  • ผู้ที่มีปัญหาในการเคลื่อนไหว

    สำหรับผู้ที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เต็มองศาการเคลื่อนไหว (Range of Motion) หรือไม่สามารถใช้งานอวัยวะส่วนนั้นๆ ได้ตามปกติ เช่น ไหล่ติด ศอกติด และนิ้วล็อก ฯลฯ กายภาพฯ สามารถช่วยฟื้นฟูการเคลื่อนไหวให้ดีขึ้น

  • ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบกระดูก

    เช่น โรคกระดูกสันหลังคด โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อน โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ ฯลฯ กายภาพฯ จะช่วยลดการกดทับเส้นประสาท ช่วยลดอาการชาปลายมือ-ปลายเท้า รวมถึง ช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดี และมีความมั่นใจในตนเอง

  • ผู้ป่วยหลังผ่าตัด

    เช่น ผู้ที่ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า หรือข้อสะโพก กายภาพฯ จะช่วยฟื้นฟูร่างกายหลังผ่าตัด ให้สามารถกลับมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

  • ผู้สูงอายุ

    กายภาพฯ จะช่วยชะลอความเสื่อมของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นและข้อต่อ จากความเสื่อมของร่างกายตามอายุที่เพิ่มขึ้น ช่วยลดความเสี่ยงในการหกล้ม รวมถึง ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรง ฝึกการทรงตัว และเพิ่มความมั่นใจในการใช้ชีวิตประจำวัน

  • นักกีฬา

    กายภาพฯ จะช่วยรักษาอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา รวมถึงเพิ่มสมรรถภาพร่างกายให้เหมาะสมกับชนิดกีฬานั้นๆ โดยการเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเฉพาะส่วน มัดที่ใช้งานหนักสำหรับกีฬาแต่ละประเภท นอกจากนี้ ยังช่วยเตรียมความพร้อมของร่างกายก่อนและหลังแข่งขัน รวมถึงการฟื้นฟูกล้ามเนื้อหลังการใช้งานอย่างหนัก เพื่อให้ร่างกายกลับมาทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และช่วยป้องกันอาการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้อีกด้วย

  • โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)

    ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมักมีปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว นักกายภาพฯ จะช่วยฟื้นฟูการเคลื่อนไหว การทรงตัว และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ รวมถึงการป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด

กายภาพฯ จะช่วยให้คุณกลับมาเคลื่อนไหวได้อย่างมั่นใจ ลดปวด และใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ…

การจัดการอาการปวด

การจัดการอาการปวด (Pain Management) จะพิจารณาทุกมิติของผู้ป่วย ไม่ใช่แค่เพียงแค่อาการปวดเท่านั้น แต่ยังรวมถึง สภาพจิตใจ สภาพแวดล้อมในการทำงาน และพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพราะเราเชื่อว่าการดูแลอาการปวดอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องดูแลทั้งร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ไปพร้อมๆ กัน

คำถามที่พบบ่อย

เครื่องมือทางกายภาพฯ ไม่ใช่ปัจจัยหลักของการรักษา เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งในกระบวนการรักษาเท่านั้น การรักษาทางกายภาพฯ ที่มีประสิทธิภาพยังประกอบด้วย

  • Manual Techniques ซึ่งเป็นเทคนิคในการรักษาที่สำคัญของนักกายภาพฯ
  • Therapeutic Exercises เป็นการออกกำลังกายเพื่อรักษา และฟื้นฟูร่างกาย
  • การให้ความรู้ความเข้าใจในตัวโรค
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดโอกาสบาดเจ็บซ้ำ

ดังนั้น การใช้เครื่องมือเพียงอย่างเดียว จึงอาจไม่เพียงพอในการดูแลผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ

แม้ว่ากายภาพฯ จะเป็นวิธีการรักษาและฟื้นฟูที่ปลอดภัย แต่ก็ยังมีข้อควรระวังบางประการ เช่น ผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์ เป็นมะเร็ง หรือใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ ฯลฯ อาจจะใช้เครื่องมือทางกายภาพฯ บางชนิดไม่ได้ เช่น อัลตราซาวด์ ช็อคเวฟ หรือเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า

ทั้งนี้ ผู้ป่วยจำเป็นต้องแจ้งให้นักกายภาพฯ ทราบถึงประวัติสุขภาพและอาการป่วยต่างๆ อย่างละเอียด เพื่อที่จะสามารถวางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และปลอดภัย

นักกายภาพฯ (Physical Therapist) เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือสูงกว่า ด้านกายภาพบำบัด มีความเชี่ยวชาญทางด้านกายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา พยาธิวิทยา และได้รับใบประกอบวิชาชีพจากสภากายภาพบำบัด

ในขณะเดียวกัน หมอนวดไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ เช่นเดียวกับนักกายภาพฯ ส่วนการนวด เหมาะกับการคลายกล้ามเนื้อ ไม่ได้รักษาอาการปวดที่ต้นเหตุ เช่น อาการปวดอาจจะเกิดจากกล้ามเนื้อสองฝั่งแข็งแรงไม่เท่ากัน (muscle imbalance) หากไม่เสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ก็จะกลับมามีอาการปวดในระยะเวลาอันสั้น ฯลฯ

เพราะฉะนั้น ท่านจึงมั่นใจได้ว่า การรักษาทางกายภาพฯ จะปลอดภัยตามหลักการแพทย์แผนปัจจุบัน และแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุอย่างแท้จริง

1. ตรวจร่างกายอย่างละเอียด ด้วยประสบการณ์ของนักกายภาพฯ แต่ละท่านที่มากกว่า 10 ปี คุณจึงมั่นใจได้ว่า จะได้รับการตรวจวิเคราะห์ที่แม่นยำ ค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการได้อย่างถูกต้อง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการรักษาทางกายภาพบำบัดที่มีประสิทธิภาพและตรงจุด

อาการปวดในตำแหน่งเดียวกัน อาจมีสาเหตุที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล ประสบการณ์ของนักกายภาพฯ ที่คลินิก จะช่วยตรวจประเมิน วางแผนการรักษา และดำเนินการรักษาให้เหมาะสมกับอาการของคุณโดยเฉพาะ เพื่อให้การฟื้นตัวเป็นไปอย่างรวดเร็วและยั่งยืน

หากคนไข้มีอาการที่รุนแรง น่าสงสัย หรือได้รับอุบัติเหตุ เราจะแนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจเพิ่มเติม เช่น X-Ray, CT Scan และ MRI เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ละเอียดยิ่งขึ้น ในทางกลับกัน หากมีผลการตรวจรังสีวินิจฉัยอยู่แล้ว สามารถนำมาใช้ประกอบการรักษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาให้ดียิ่งขึ้น

ในบางกรณี นักกายภาพฯ ของเราจะทำงานร่วมกับแพทย์ในการวางแผนการรักษา และร่วมมือกับ Fitness Trainer ในการออกแบบโปรแกรมการออกกำลังกาย เพื่อให้ผู้ป่วยกลับมาเคลื่อนไหวได้อย่างมั่นใจ และใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพสูงสุด

2. Manual Therapy นักกายภาพฯ ที่คลินิกของเรา ล้วนมีความเชี่ยวชาญด้าน Manual Therapy (หัตถบำบัด) ซึ่งเป็นเทคนิคสำคัญในการบรรเทาอาการอักเสบของจุด Trigger Point ซึ่งมักเป็นสาเหตุหลักของอาการปวดเรื้อรัง การรักษาประกอบด้วยหลายเทคนิค เช่น การยืดกล้ามเนื้อ (Stretching) เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและลดอาการตึงตัว การขยับข้อต่อและเนื้อเยื่อโดยรอบ (Mobilization) เพื่อเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหว และการดึงคอ-หลัง (Manual Traction) เพื่อลดแรงกดทับต่อเส้นประสาท

เทคนิคเหล่านี้ถือเป็นแนวทางการรักษาหลักทางกายภาพฯ ของประเทศสหรัฐอเมริกาและได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายทั่วโลก

3. เครื่องมือ คลินิกของเรายังนำเครื่องมือที่ทันสมัย (Modalities) เช่น เครื่องช็อคเวฟ (Shockwave) เครื่องอัลตราซาวด์ (Ultrasound) และเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า (Electrical Stimulation) มาประกอบการรักษา เพื่อช่วยคลายกล้ามเนื้อ ลดอาการอักเสบ และเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ฯลฯ

ทั้งนี้ นักกายภาพฯ จะเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการรักษาของแต่ละอาการ เช่น ผู้ที่มีภาวะกระดูกเสื่อม ควรหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องช็อคเวฟ (Shockwave) ในการรักษาบริเวณนั้นๆ เพื่อความปลอดภัย เป็นต้น

4. การออกกำลังกาย (Therapeutic Exercises) เป็นอีกหนึ่งในวิธีการรักษาหลักทางกายภาพฯ ในประเทศสหรัฐอเมริกา จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ให้มีความสมดุลกันทั้งสองฝั่ง ช่วยทำให้กล้ามเนื้อยืดหยุ่น เพิ่มองศาการเคลื่อนไหว (Increase Range of Motion) และป้องกันอาการบาดเจ็บซ้ำๆที่จุดเดิม 

นอกจากนี้ ยังช่วยปรับท่าทางในการใช้ชีวิตประจำวัน (Posture Correction) ไม่ว่าจะเป็นท่านอน ท่านั่ง ท่ายืนและท่าเดิน ให้ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ (Ergonomics) เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอาการบาดเจ็บในอนาคต

5. ให้ความรู้เกี่ยวกับตัวโรคและติดตามผลการรักษา เรามุ่งเน้นให้คนไข้มีความเข้าใจเกี่ยวกับรอยโรคหรือภาวะที่เป็นอยู่ เพื่อที่จะปฎิบัติตัวได้อย่างเหมาะสม และเพื่อหลี่กเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ นอกจากนี้ เรายังติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง ให้คำปรึกษา คำแนะนำ จนกว่ามั่นใจว่า คนไข้จะสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติอย่างมั่นใจ

สำหรับผู้ที่กำลังมองหา “คลินิกกายภาพบำบัด ใกล้ฉัน” ควรสอบถามแนวทางการรักษา เพื่อให้มั่นใจว่าแนวทางการรักษานั้นเหมาะสมกับตนเอง และอาการที่เป็น อีกทั้ง ควรเลือกคลินิกที่มีนักกายภาพฯ ที่มีประสบการณ์ และความสามารถในการตรวจร่างกายได้อย่างตรงจุด เพื่อการรักษาที่ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด หายเร็ว หายขาด ปลอดภัย และไม่กลับมาเป็นซ้ำ ท่านสามารถปรึกษาอาการเบื้องต้นกับเรา ได้ทางโทรศัพท์หรือทาง LINE OA

ร่างกายของเรามีความสามารถในการซ่อมแซมตัวเองได้ แต่เนื่องจาก เราจำเป็นต้องเคลื่อนไหวหรือใช้งานตลอดเวลา ทำให้การซ่อมแซมตัวเองเป็นไปได้ยากมากขึ้น ​หากมีอาการปวดที่ไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 วัน แนะนำให้เข้ามารักษาทางกายภาพฯ จะช่วยให้หายไวขึ้น อาการปวดจากการบาดเจ็บลดลง และป้องกันไม่ให้อาการเรื้อรัง

ขึ้นอยู่กับอาการ เช่น อาการเส้นเอ็นอักเสบจะใช้เวลารักษานานกว่ากล้ามเนื้ออักเสบ ส่วนโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ในบางกรณีสามารถรักษาเพื่อบรรเทาอาการปวด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะของโรค 

เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพสูงสุด ควรเข้ารับการรักษาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง เพื่อความต่อเนื่องของการรักษาและช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูได้เร็วขึ้น 

แม้ว่าระดับความทนต่อความเจ็บปวดของแต่ละคนจะแตกต่างกัน แต่การเข้ารับการรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการ จะช่วยให้หายเร็วและไม่เรื้อรัง

สิ่งที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในการรักษาทางกายภาพฯ คือ ตัวผู้ป่วยเอง ซึ่งต้องเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง จนกว่าอาการจะดีขึ้น หรือหายขาด เพื่อป้องกันการบาดเจ็บซ้ำ รวมถึง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การออกกำลังกาย และการปฏิบัติตามคำแนะนำของนักกายภาพฯ

การรักษาทางกายภาพฯ จำเป็นต้องใช้ความต่อเนื่องในการเข้ารับการรักษา เพื่อให้หายขาด และป้องกันไม่ให้อาการกลับมา เนื่องจากคลื่นไฟฟ้าที่ใช้ในการรักษา จะได้ผลเฉพาะในช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น หากคนไข้หยุดการรักษากลางคัน ก็เปรียบเสมือนกับการรับประทานยาที่ไม่ครบโดส ซึ่งอาจทำให้มีโอกาสกลับมาเป็นใหม่ หรือกลายเป็นอาการเรื้อรังได้

จากสถิติของทางคลินิกฯ คนไข้ที่ได้รับการรักษาจนหายขาด จะไม่กลับมาเป็นซ้ำที่ตำแหน่งเดิม ภายในระยะเวลา 6 เดือน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการปรับพฤติกรรมของคนไข้ด้วย

การออกกำลังกายทางกายภาพฯ ไม่ได้เหมือนกับการออกกำลังกายทั่วไป เพราะเราจะเน้นการเสริมสร้างกล้ามเนื้อบริเวณที่มีปัญหา ​และออกแบบการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับ​สภาพร่างกายและปัญหาสุขภาพของแต่ละบุคคล ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่อ่อนแอ และป้องกันการบาดเจ็บซ้ำที่จุดเดิม 

นอกจากการรักษาแล้ว ยังเหมือนมีเทรนเนอร์ส่วนตัว ที่ช่วยออกแบบท่าออกกำลังกายเฉพาะบุคคลในการรักษาแต่ละครั้ง ให้เหมาะกับสภาพกล้ามเนื้อ ณ ขณะนั้น

โรคที่เกิดจากพันธุกรรม เช่น กระดูกสันหลังคดแต่กำเนิด หรือโรคประจำตัว เช่น เท้าชาจากเบาหวาน ที่ทำให้ปลายประสาทอักเสบ ฯลฯ

บทความ

Assessment

Ultrasound

Shockwave Therapy - การรักษาทางกายภาพบำบัดด้วยคลื่นช็อคเวฟ - ช็อคเวฟ กายภาพ ใกล้ฉัน - shockwave therapy near me

​Shockwave

Electrical Stimulation

​Gun Massage

​Joint Mobilization

Manual Traction

​Stretching

​Hot/Cold Compress

Exercises

​Home Program

Posture Correction

นัดหมาย

085-9966-353
ภาพบรรยากาศ นพ.คุณากร อัชชนียะสกุล มาเยี่ยมคลินิกกายภาพบำบัด เบรน รีแฮบ สาขาอโศก
ภาพบรรยากาศภายนอก ประตูทางเข้า คลินิกกายภาพบำบัด เบรน รีแฮบ สาขาอโศก
ภาพบรรยากาศภายใน ที่พักรับรอง กว้างขวาง ไม่อึดอัด คลินิกกายภาพบำบัด เบรน รีแฮบ สาขาอโศก
ภาพบรรยากาศภายใน ห้องตรวจ รักษา มีความเป็นส่วนตัว กว้างขวาง ไม่อึดอัด คลินิกกายภาพบำบัด เบรน รีแฮบ สาขาอโศก
ภาพบรรยากาศภายใน บริเวณโซนออกกำลังกาย คลินิกกายภาพบำบัด เบรน รีแฮบ สาขาอโศก
ภาพบรรยากาศภายใน กว้างขวาง ไม่อึดอัด คลินิกกายภาพบำบัด เบรน รีแฮบ สาขาอโศก
ภาพบรรยากาศภายใน กว้างขวาง โปร่งสบาย ไม่อึดอัด คลินิกกายภาพบำบัด เบรน รีแฮบ สาขาอโศก
ภาพบรรยากาศภายนอก คลินิกกายภาพบำบัด เบรน รีแฮบ สาขาอโศก บริเวณประตูทางเข้า
ภาพบรรยากาศภายนอก คลินิกกายภาพบำบัด เบรน รีแฮบ สาขาอโศก บริเวณล็อบบี้
ภาพบรรยากาศภายในห้องรักษา คลินิกกายภาพบำบัด เบรน รีแฮบ สาขาอโศก
ภาพบรรยากาศภายนอก ตึกจัสมิน อโศก ที่ตั้งคลินิกกายภาพบำบัด เบรน รีแฮบ สาขาอโศก

Business Hours

วันจันทร์-ศุกร์: 10.30 - 20.00 น.
วันเสาร์-อาทิตย์: 9.30 - 18.30 น.

Location

อยู่ห้อง B-13 ชั้น B-1 (ข้างออฟฟิศเมท)
Jasmine City ซ.สุขุมวิท 23 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
https://goo.gl/maps/yc3JW

Parking

จอดรถฟรี 3 ชั่วโมง
ภาพบรรยากาศ นพ.คุณากร อัชชนียะสกุล มาเยี่ยมคลินิกกายภาพบำบัด เบรน รีแฮบ สาขานนทบุรี
ภาพบรรยากาศภายนอก ป้ายหน้าร้าน คลินิกกายภาพบำบัด เบรน รีแฮบ สาขานนทบุรี
ภาพบรรยากาศภายนอก คลินิกกายภาพบำบัด เบรน รีแฮบ สาขานนทบุรี ทางลงรถไฟฟ้า สถานีบางรักใหญ่ ทางออก 2
ภาพบรรยากาศภายนอก ป้ายบิลบอร์ด คลินิกกายภาพบำบัด เบรน รีแฮบ สาขานนทบุรี
ภาพบรรยากาศภายนอก ป้ายหน้าร้าน ป้ายบิลบอร์ด คลินิกกายภาพบำบัด เบรน รีแฮบ สาขานนทบุรี
ภาพบรรยากาศภายใน บริเวณที่รับรอง คลินิกกายภาพบำบัด เบรน รีแฮบ สาขานนทบุรี
ภาพบรรยากาศภายใน บริเวณโซนออกกำลังกาย และฝึกผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) คลินิกกายภาพบำบัด เบรน รีแฮบ สาขานนทบุรี
ภาพบรรยากาศภายใน บริเวณโซนฝึกผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง คลินิกกายภาพบำบัด เบรน รีแฮบ สาขานนทบุรี
ภาพบรรยากาศภายใน บริเวณโซนออกกำลังกาย คลินิกกายภาพบำบัด เบรน รีแฮบ สาขานนทบุรี
โลโก้และภาพบรรยากาศภายนอก คลินิกกายภาพบำบัด เบรน รีแฮบ สาขานนทบุรี
ภาพบรรยากาศภายนอก คลินิกกายภาพบำบัด เบรน รีแฮบ สาขานนทบุรี

Business Hours

วันจันทร์-ศุกร์: 9.30 - 20.00 น.
วันเสาร์-อาทิตย์: 9.30 - 18.30 น.

Location

อยู่ติด MRT บางรักใหญ่ ทางออก 2
23/10 หมู่ 3, บางรักใหญ่, บางบัวทอง, นนทบุรี 11110
https://goo.gl/maps/wTdR4

Parking

มีที่จอดรถ 4-5 คัน
ที่จอดรถ เลี้ยวเข้าซอย อยู่หัวมุม