บาดเจ็บไขสันหลัง (Spinal Cord Injury)

“ทำไมอุบัติเหตุ ถึงทำให้พิการได้” มารู้จักอาการบาดเจ็บไขสันหลัง หรือ Spinal Cord Injury (SCI) กันว่า กายภาพบำบัดมีบทบาทอย่างไรสำหรับผู้ป่วย SCI…
ระบบประสาทสมองและไขสันหลัง
ระบบประสาทสมองและไขสันหลังเป็นหนึ่งในระบบของร่างกายที่มีความสำคัญมากที่สุด เนื่องจากสมองทำหน้าที่สั่งการเพื่อควบคุมอวัยวะต่างๆในร่างกาย และไขสันหลังจะทำหน้าที่รับและส่งสัญญาณกระแสประสาทระหว่างสมองกับกล้ามเนื้อ
ดังนั้น หากไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกาย โดยเฉพาะการทำงานของกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย
สาเหตุ
การบาดเจ็บบริเวณไขสันหลังอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ
- ส่วนมากจะมาจากอุบัติเหตุทางถนน โดยเฉพาะจักรยานยนต์และรถยนต์ตามลำดับ
- การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 65 ปี
- อุบัติเหตุจากการเล่นกีฬา
- อุบัติเหตุจากการทำงาน เช่น พลัดตกจากที่สูง
เกินกว่าครึ่งของผู้ป่วย SCI นั้น พบในช่วงอายุประมาณ 16-30 ปี พบในเพศชายมากกว่า 80% และในเพศชายนั้น มากกว่า 90% พบการบาดเจ็บที่ไขสันหลังจากการเล่นกีฬา
ผลกระทบ
การบาดเจ็บบริเวณแนวกระดูกสันหลัง อาจส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บบริเวณไขสันหลังข้างใน รวมถึงรากประสาทในโพรงกระดูกสันหลัง ซึ่งถือเป็นส่วนที่สำคัญของแกนกลางร่างกาย ที่มีทั้งระบบประสาทรับความรู้สึกและการสั่งการไปยังสมอง เพื่อส่งกระแสประสาทไปควบคุมการทำงานของร่างกาย
ตำแหน่ง
การบาดเจ็บไขสันหลัง (SCI) จะแบ่งตามระดับของกระดูกสันหลัง ออกเป็น
- กระดูกสันหลังส่วนคอ (Cervical Spine) C1-C7
- กระดูกสันหลังส่วนอก (Thoracic Spine) T1-T12
- กระดูกสันหลังส่วนเอว (Lumbar spine) L1-L5
- กระดูกก้นกบ (Sacral&Coccyx Spine) S1-S5
ซึ่งในแต่ละระดับของกระดูกสันหลัง จะมีไขสันหลังและเส้นประสาทไขสันหลัง อยู่ในทุกระดับ
ประเภท
การบาดเจ็บไขสันหลังแบ่งออกเป็น
Incomplete SCI เป็นอาการบาดเจ็บของไขสันหลังเพียงบางส่วน จึงทำให้การทำงานของไขสันหลังไม่ได้สูญเสียไปทั้งหมด
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริเวณที่ยังสามารถทำงานได้ในไขสันหลังระดับนั้นๆ เช่น การบาดเจ็บบางส่วนบริเวณไขสันหลังช่วงอก ระดับที่ 10 (T10) ซึ่งอาจทำให้พบว่า ยังพอมีแรงของกล้ามเนื้อที่ขาและประสาทรับความรู้สึกบริเวณดังกล่าวร่วมด้วย ซึ่งจะแตกต่างกับ
Complete SCI เป็นการบาดเจ็บของไขสันหลังแบบทั้งหมด ซึ่งจะไม่พบทั้งแรงของกล้ามเนื้อและประสาทรับความรู้สึกเลย เช่น กรณีคนไข้บาดเจ็บกระดูกสันหลังระดับ T10 ส่วนที่อยู่ใต้ T10 จะใช้งานไม่ได้เลย กายภาพบำบัดจะเน้นความแข็งแรงกล้ามเนื้อส่วนที่อยู่เหนือระดับ T10 เพื่อให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองได้มากที่สุด
หมายเหตุ ประเภทของ Incomplete SCI นั้นมีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละรูปแบบก็มีอาการและอาการแสดงแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับรูปแบบนั้นๆ
ความรุนแรง
การบาดเจ็บบริเวณไขสันหลัง จะถูกแบ่งตามความรุนแรงของอาการและรอยโรค ตาม American Spinal Injury Association (ASIA) เป็น Class A-E ตามความรุนแรงจากมากไปน้อย ซึ่งระดับความรุนแรงจะจัดเรียงตามผลกระทบทางด้านการรับความรู้สึกของร่างกายและการสั่งการของกล้ามเนื้อ ในระดับที่บาดเจ็บของไขสันหลังนั้นๆ
การรักษาทางการแพทย์
ส่วนใหญ่การบาดเจ็บบริเวณไขสันหลังจะเป็นเคสที่ฉุกเฉิน (Emergency case) จึงจำเป็นจะต้องประเมินความรุนแรงและรับการรักษาจากแพทย์โดยเร่งด่วน
ทั้งนี้การรักษามีทั้งการรักษาโดยการผ่าตัดและประคองอาการ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของรอยโรคที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์
การรักษาทางกายภาพบำบัด
หลังจากอาการผู้ป่วยคงที่และได้รับการรักษาจากแพทย์ บทบาทของนักกายภาพบำบัดในการดูแล รักษาและฟื้นฟูในผู้ป่วยกลุ่ม SCI นั้น จะต้องประเมินถึงระดับความรุนแรงของโรคและระดับของไขสันหลังที่เกิดการบาดเจ็บว่าอยู่ในระดับใด เพื่อประเมินการฟื้นตัวและวางแผนการฟื้นฟู รวมถึงสิ่งที่คนไข้จะได้รับจากการทำกายภาพบำบัด
อาการส่วนใหญ่ที่พบ มักพบทั้งการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อแขน-ขาทั้งสองข้าง ซึ่งภายหลังได้รับการบาดเจ็บไขสันหลัง ร่างกายจะสูญเสียการทำงาน การสั่งการของไขสันหลังระดับที่ต่ำกว่าบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ รวมถึงการรับความรู้สึกที่ลดน้อยลงหรือเพิ่มขึ้นกว่าปกติ
การฝึกจะเน้นให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจำวันได้ การฝึกกิจวัตรประจำวัน เช่น การเคลื่อนย้ายตัวจากเตียงไปรถเข็น การฝึกยืน การฝึกเดิน เป็นต้น
การฟื้นฟูกรณี Incomplete SCI (การบาดเจ็บไขสันหลังบางส่วน) จะเน้นการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อของผู้ป่วยโดยรวมทั่วร่างกาย ฝึกทำกิจกรรมต่างๆ รวมถึงการกระตุ้นไฟฟ้าในส่วนที่ยังมีเส้นประสาทมาเลี้ยงด้วย
ส่วนในกรณี Complete SCI (การบาดเจ็บไขสันหลังทั้งหมด) จะเน้นการเสริมกำลังกล้ามเนื้อในส่วนที่ใช้งานได้ปกติ หรือบริเวณเหนือต่อระดับไขสันหลังที่ได้รับการบาดเจ็บ เพื่อให้การทำงานกล้ามเนื้อของผู้ป่วยกลับมาใช้งานได้มากที่สุด
การรักษาทางกายภาพบำบัด (ต่อ)
นอกจากนี้ นักกายภาพบำบัดมีความจำเป็นในการช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ของผู้ป่วย เช่น การป้องกันข้อต่อยึดติด การเกิดอาการบวมของแขน-ขา การชะลอภาวะกล้ามเนื้อฝ่อลีบ
การฟื้นตัว
การฟื้นตัวของผู้ป่วยนั้น ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของรอยโรคที่เกิดขึ้น และระดับของไขสันหลังที่ได้รับบาดเจ็บ ซึ่งหากระดับไขสันหลังที่ผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บยิ่งอยู่สูง จะยิ่งทำให้อาการรุนแรง และสูญเสียการทำงานของร่างกายมากขึ้น การเข้ารับการฟื้นฟูทางกายภาพบำบัดโดยผู้เชี่ยวชาญ จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ
** ทาง Brain Rehab Clinic (เบรน รีแฮบ คลินิกกายภาพบำบัด) มีผู้เชี่ยวชาญทางด้านกายภาพบำบัด ระบบประสาทและสมอง ที่สามารถตรวจประเมินร่างกาย วางแผนการรักษา ดูแลและฟื้นฟูผู้ป่วยทางระบบประสาทและสมองโดยเฉพาะ เพื่อการรักษา ฟื้นฟูของผู้ป่วย ได้อย่างครอบคลุมและปลอดภัย **
Assessment
Ultrasound
Shockwave
Electrical Stimulation
Gun Massage
Joint Mobilization
Manual Traction
Stretching
Hot/Cold Compress
Exercises
Home Program
Posture Correction
คำถามที่พบบ่อย
กายภาพบำบัด คืออะไร
กายภาพบำบัด เป็นศาสตร์ทางการแพทย์แผนปัจจุบัน ที่มุ่งเน้นการรักษา ส่งเสริม ป้องกันและฟื้นฟูสุขภาพแบบองค์รวม เพื่อช่วยให้คุณภาพชีวิตของคนไข้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การบรรเทาอาการปวด การเพิ่มประสิทธิภาพการเคลื่อนไหว หรือการฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกาย จากอาการบาดเจ็บหรือโรคต่างๆ โดยไม่ต้องใช้ยาและหลีกเลี่ยงการผ่าตัด แบ่งขั้นตอนการรักษาออกเป็น 3 ขั้นตอนหลักๆ ดังนี้
Manual Techniques เป็นเทคนิคในการรักษาด้วยมือ ที่ได้รับการอบรมและฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง เช่น การขยับข้อต่อ เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของข้อต่อและกล้ามเนื้อ (Mobilization) การขยับ ดัด ดึงข้อต่อ (Manipulation) การดึงคอ-ดึงหลัง (Manual Traction) และการยืดกล้ามเนื้อ (Stretching)
Modalities เป็นการใช้เครื่องมือทางกายภาพฯ เพื่อช่วยลดปวดและเสริมสร้างกล้ามเนื้อ เช่น เครื่องช็อคเวฟ เครื่องอัลตราซาวด์ และเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า
Exercises หลังจากที่อาการปวดลดลงแล้วการออกกำลังกายจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ รวมถึงเพื่อป้องกันการบาดเจ็บซ้ำ ในกรณีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จะเน้นการออกกำลังกายเฉพาะส่วนเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกาย เช่น ผู้ป่วยที่มีปัญหาในการเดิน จะเน้นฝึกกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวและกล้ามเนื้อส่วนล่างที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ
กายภาพฯ จะช่วยให้คุณกลับมาเคลื่อนไหวได้อย่างมั่นใจ ลดปวด และใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ…
ทำไมต้อง เบรน รีแฮบ คลินิก?
คนไข้สามารถติดต่อ ปรึกษาปัญหาเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง เรามีการติดตามอาการ ผลการรักษา ตลอดจนให้คำปรึกษาในการดูแลตนเองเบื้องต้น จนกว่าจะถึงนัดหมายครั้งถัดไป
นอกจากนี้ ทั้งสาขาอโศกและสาขานนทบุรี ยังมีที่จอดรถ เดินทางสะดวก อยู่ใกล้รถไฟฟ้า BTS หรือ MRT
อะไรคือ ความแตกต่าง?
นักกายภาพฯ ของเรามีประสบการณ์ทำงานไม่ต่ำกว่า 10 ปี ทำให้เชื่อมั่นได้ว่า คนไข้จะได้รับการรักษาที่ดีที่สุดและปลอดภัยที่สุด
มีการรักษา 8 ขั้นตอนหรือไม่?
ไม่มี เราเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับอาการของคนไข้ เช่น การกระตุ้นไฟฟ้า ไม่ได้เหมาะสมกับการรักษาทุกเคส ดังนั้น เราจึงใช้เวลาเพื่อโฟกัสกับการรักษาที่ได้ผลที่สุด
แล้วแนวทางการรักษา คืออะไร?
1. ตรวจร่างกายอย่างละเอียด ด้วยประสบการณ์ของนักกายภาพฯ แต่ละท่านที่มากกว่า 10 ปี คุณจึงมั่นใจได้ว่า จะได้รับการตรวจวิเคราะห์ที่แม่นยำ ค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการได้อย่างถูกต้อง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการรักษาทางกายภาพบำบัดที่มีประสิทธิภาพและตรงจุด
อาการปวดในตำแหน่งเดียวกัน อาจมีสาเหตุที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล ประสบการณ์ของนักกายภาพฯ ที่คลินิก จะช่วยตรวจประเมิน วางแผนการรักษา และดำเนินการรักษาให้เหมาะสมกับอาการของคุณโดยเฉพาะ เพื่อให้การฟื้นตัวเป็นไปอย่างรวดเร็วและยั่งยืน
หากคนไข้มีอาการที่รุนแรง น่าสงสัย หรือได้รับอุบัติเหตุ เราจะแนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจเพิ่มเติม เช่น X-Ray, CT Scan และ MRI เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ละเอียดยิ่งขึ้น ในทางกลับกัน หากมีผลการตรวจรังสีวินิจฉัยอยู่แล้ว สามารถนำมาใช้ประกอบการรักษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาให้ดียิ่งขึ้น
ในบางกรณี นักกายภาพฯ ของเราจะทำงานร่วมกับแพทย์ในการวางแผนการรักษา และร่วมมือกับ Fitness Trainer ในการออกแบบโปรแกรมการออกกำลังกาย เพื่อให้ผู้ป่วยกลับมาเคลื่อนไหวได้อย่างมั่นใจ และใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพสูงสุด
2. Manual Therapy นักกายภาพฯ ที่คลินิกของเรา ล้วนมีความเชี่ยวชาญด้าน Manual Therapy (หัตถบำบัด) ซึ่งเป็นเทคนิคสำคัญในการบรรเทาอาการอักเสบของจุด Trigger Point ซึ่งมักเป็นสาเหตุหลักของอาการปวดเรื้อรัง การรักษาประกอบด้วยหลายเทคนิค เช่น การยืดกล้ามเนื้อ (Stretching) เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและลดอาการตึงตัว การขยับข้อต่อและเนื้อเยื่อโดยรอบ (Mobilization) เพื่อเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหว และการดึงคอ-หลัง (Manual Traction) เพื่อลดแรงกดทับต่อเส้นประสาท
เทคนิคเหล่านี้ถือเป็นแนวทางการรักษาหลักทางกายภาพฯ ของประเทศสหรัฐอเมริกาและได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายทั่วโลก
3. เครื่องมือ คลินิกของเรายังนำเครื่องมือที่ทันสมัย (Modalities) เช่น เครื่องช็อคเวฟ (Shockwave) เครื่องอัลตราซาวด์ (Ultrasound) และเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า (Electrical Stimulation) มาประกอบการรักษา เพื่อช่วยคลายกล้ามเนื้อ ลดอาการอักเสบ และเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ฯลฯ
ทั้งนี้ นักกายภาพฯ จะเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการรักษาของแต่ละอาการ เช่น ผู้ที่มีภาวะกระดูกเสื่อม ควรหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องช็อคเวฟ (Shockwave) ในการรักษาบริเวณนั้นๆ เพื่อความปลอดภัย เป็นต้น
4. การออกกำลังกาย (Therapeutic Exercises) เป็นอีกหนึ่งในวิธีการรักษาหลักทางกายภาพฯ ในประเทศสหรัฐอเมริกา จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ให้มีความสมดุลกันทั้งสองฝั่ง ช่วยทำให้กล้ามเนื้อยืดหยุ่น เพิ่มองศาการเคลื่อนไหว (Increase Range of Motion) และป้องกันอาการบาดเจ็บซ้ำๆที่จุดเดิม
นอกจากนี้ ยังช่วยปรับท่าทางในการใช้ชีวิตประจำวัน (Posture Correction) ไม่ว่าจะเป็นท่านอน ท่านั่ง ท่ายืนและท่าเดิน ให้ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ (Ergonomics) เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอาการบาดเจ็บในอนาคต
5. ให้ความรู้เกี่ยวกับตัวโรคและติดตามผลการรักษา เรามุ่งเน้นให้คนไข้มีความเข้าใจเกี่ยวกับรอยโรคหรือภาวะที่เป็นอยู่ เพื่อที่จะปฎิบัติตัวได้อย่างเหมาะสม และเพื่อหลี่กเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ นอกจากนี้ เรายังติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง ให้คำปรึกษา คำแนะนำ จนกว่ามั่นใจว่า คนไข้จะสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติอย่างมั่นใจ
สำหรับผู้ที่กำลังมองหา “คลินิกกายภาพบำบัด ใกล้ฉัน” ควรสอบถามแนวทางการรักษา เพื่อให้มั่นใจว่าแนวทางการรักษานั้นเหมาะสมกับตนเอง และอาการที่เป็น อีกทั้ง ควรเลือกคลินิกที่มีนักกายภาพฯ ที่มีประสบการณ์ และความสามารถในการตรวจร่างกายได้อย่างตรงจุด เพื่อการรักษาที่ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด หายเร็ว หายขาด ปลอดภัย และไม่กลับมาเป็นซ้ำ ท่านสามารถปรึกษาอาการเบื้องต้นกับเรา ได้ทางโทรศัพท์หรือทาง LINE OA
หากไม่รักษา เดี๋ยวอาการปวดก็หายไปเอง ใช่หรือไม่?
ร่างกายของเรามีความสามารถในการซ่อมแซมตัวเองได้ แต่เนื่องจาก เราจำเป็นต้องเคลื่อนไหวหรือใช้งานตลอดเวลา ทำให้การซ่อมแซมตัวเองเป็นไปได้ยากมากขึ้น หากมีอาการปวดที่ไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 วัน แนะนำให้เข้ามารักษาทางกายภาพฯ จะช่วยให้หายไวขึ้น อาการปวดจากการบาดเจ็บลดลง และป้องกันไม่ให้อาการเรื้อรัง
ควรเข้ารับการรักษากี่ครั้ง ความถี่เท่าไหร่?
ขึ้นอยู่กับอาการ เช่น อาการเส้นเอ็นอักเสบจะใช้เวลารักษานานกว่ากล้ามเนื้ออักเสบ ส่วนโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ในบางกรณีสามารถรักษาเพื่อบรรเทาอาการปวด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะของโรค
เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพสูงสุด ควรเข้ารับการรักษาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง เพื่อความต่อเนื่องของการรักษาและช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูได้เร็วขึ้น
แม้ว่าระดับความทนต่อความเจ็บปวดของแต่ละคนจะแตกต่างกัน แต่การเข้ารับการรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการ จะช่วยให้หายเร็วและไม่เรื้อรัง
อาการดีขึ้นแล้ว ไม่จำเป็นต้องรักษาต่อหรือหยุดการรักษาได้ จริงหรือไม่?
การรักษาทางกายภาพฯ จำเป็นต้องใช้ความต่อเนื่องในการเข้ารับการรักษา เพื่อให้หายขาด และป้องกันไม่ให้อาการกลับมา เนื่องจากคลื่นไฟฟ้าที่ใช้ในการรักษา จะได้ผลเฉพาะในช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น หากคนไข้หยุดการรักษากลางคัน ก็เปรียบเสมือนกับการรับประทานยาที่ไม่ครบโดส ซึ่งอาจทำให้มีโอกาสกลับมาเป็นใหม่ หรือกลายเป็นอาการเรื้อรังได้
จากสถิติของทางคลินิกฯ คนไข้ที่ได้รับการรักษาจนหายขาด จะไม่กลับมาเป็นซ้ำที่ตำแหน่งเดิม ภายในระยะเวลา 6 เดือน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการปรับพฤติกรรมของคนไข้ด้วย
การออกกำลังกายโดยนักกายภาพฯ แตกต่างจากการออกกำลังกายทั่วไปอย่างไร?
การออกกำลังกายทางกายภาพฯ ไม่ได้เหมือนกับการออกกำลังกายทั่วไป เพราะเราจะเน้นการเสริมสร้างกล้ามเนื้อบริเวณที่มีปัญหา และออกแบบการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายและปัญหาสุขภาพของแต่ละบุคคล ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่อ่อนแอ และป้องกันการบาดเจ็บซ้ำที่จุดเดิม
นอกจากการรักษาแล้ว ยังเหมือนมีเทรนเนอร์ส่วนตัว ที่ช่วยออกแบบท่าออกกำลังกายเฉพาะบุคคลในการรักษาแต่ละครั้ง ให้เหมาะกับสภาพกล้ามเนื้อ ณ ขณะนั้น
โรคอะไรที่ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีทางกายภาพฯ?
นัดหมาย
085-9966-353Business Hours
วันเสาร์-อาทิตย์: 9.30 - 18.30 น.
Location
Parking
Business Hours
วันเสาร์-อาทิตย์: 9.30 - 18.30 น.
Location
Parking
ที่จอดรถ เลี้ยวเข้าซอย อยู่หัวมุม