รักษา"ออฟฟิศซินโดรม"กี่ที่ ก็ไม่หาย... มาทำความรู้จัก โรค TOS กัน...
โรคที่แม้แต่นักกายภาพบำบัดเอง บางครั้งยังวินิจฉัยผิด
Thoracic Outlet Syndrome หรือ TOS เป็นอาการที่พบมากใน ผู้หญิงอายุ 20-50 ปี ซึ่งเกิดจากการกดทับเส้นประสาทและหลอดเลือดบริเวณคอ ทำให้เกิดอาการชาทั้งแขนและมือ ร่วมกับอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง อาการแขนบวม และอาการแขนและมือเย็น
โรค TOS ไม่ได้มีความแตกต่างกับโรคออฟฟิศ ซินโดรมทั่วไปมากมายนัก เพราะถือว่าเป็นส่วนนึงในอาการออฟฟิศ ซินโดรม
แต่ด้วยความใกล้เคียงของอาการกันนี่เอง ทำให้นักกายภาพบำบัดหลายท่านยังวินิจฉัยผิด
จากประสบการณ์ส่วนตัวของคนไข้ท่านนึง ไปรักษามาแล้วไม่ต่ำกว่า 10 คลินิก เป็นระยะเวลาหลายปี อาการไม่ดีขึ้น เพราะนักกายภาพบำบัดแจ้งว่า เกิดจากการใช้งาน ถ้าไม่ใช้งาน อาการก็จะดีขึ้น
แต่พอมาลองคลินิกเรา นักกายภาพบำบัดฟันธงว่าเป็น Thoracic Outlet Syndrome จึงทำให้การรักษาตรงจุด และอาการค่อยๆดีขึ้นตามลำดับ...
เห็นไหมว่าการเลือกคลินิกที่มีนักกายภาพบำบัดที่เชี่ยวชาญ ทำให้การรักษาตรงจุด และจะประหยัดเงินคนไข้ด้วยนะครับ
อาการของแสดงของ โรค TOS จำแนกเป็น 3 อาการหลักๆ คือ
1. อาการทางระบบประสาท ผู้ป่วยที่มีอาการ อาจจะรู้สึกชาที่แขนจนไปถึงมือ ผู้ป่วยบางรายมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงและลีบ ซึ่งสามารถพบมากถึง 90% ของผู้ป่วยที่เป็นโรค TOS
2. อาการทางระบบหลอดเลือดดำ คือ อาการที่หลอดเลือดดำโดนกดทับ ทำให้เกิดอาการบวมบริเวณแขน เนื่องจากหลอดเลือดดำไม่สามารถนำเลือดกลับสู่หัวใจได้ พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ส่วนใหญ่พบในกลุ่มคนที่ใช้กล้ามเนื้อแขนข้างที่ถนัดในท่าเดิมซ้ำๆ เป็นเวลานาน
3. อาการทางระบบหลอดเลือดแดง คืออาการของหลอดเลือดแดงที่โดนกดทับ ทำให้เกิดอาการแขนและมือเย็น ซีด เนื่องจากเลือดจากหลอดเลือดแดงไม่สามารถไปเลี้ยงอวัยวะบริเวณนั้นได้ พบในทั้งชายและหญิง ในปริมาณใกล้เคียงกัน มักพบในกลุ่มวัยกลางคน
หรือ มีหลายอาการรวมกัน ตามที่กล่าวมาข้างต้น
สาเหตุของโรค TOS สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น กล้ามเนื้อหดสั้นหรือตึงตัว การเกิดอุบัติเหตุ การมีเนื้องอกหรือก้อนเนื้อบริเวณไหปลาร้า กระดูกไหปลาร้าหักหรือผิดรูป การบาดเจ็บของเส้นประสาทหรือการเพิ่มขนาดกล้ามเนื้อหน้าอกมากเกินไปในนักเพาะกาย แบ่งตามตำแหน่งที่เกิดได้ 3 แบบ
1. Interscalene triangle คือ ตำแหน่งจุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อ Anterior and Middle Scalene muscles เกิดจากภาวะที่กล้ามเนื้อทั้ง 2 มัด มีความตึงตัวสูง ทำให้หนีบรัดเส้นประสาท
2. Costoclavicular space คือ ตำแหน่งระหว่างกระดูกไหปลาร้ากับกระดูกซี่โครงซี่ที่ 1 เกิดจากการยกตัวของกระดูกซี่โครงซี่ที่ 1 ทำให้ช่องที่ลอดผ่านของหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำแคบลง ส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงที่แขนและมือไม่ปกติ
3. Subcoracoid space คือ ตำแหน่งบริเวณจุดเกาะต้นของกล้ามเนื้อ Pectoralis minor muscle ที่เป็นกล้ามเนื้อมัดลึกบริเวณหน้าอก ซึ่งเกิดการหดสั้นจนตึงตัวมาก ซึ่งทำให้เส้นประสาท Brachial Plexus และหลอด Axillary Artery & Vein ถูกกดทับ ซึ่งพบได้ในคนทั่วไปที่ชอบนอนแขนหนุนศีรษะ หรือคนที่มีท่าทางห่อไหล่ตลอดเวลา
ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งเสริมให้เกิดอาการ TOS สามารถเกิดได้ทั้ง การปรับเก้าอี้นั่งทำงานไม่เหมาะสม ทำให้ท่านั่งเป็นท่าหลังค่อม ห่อไหล่ เป็นเวลานาน
หรือ อาชีพที่ใช้แขนในท่าเดิมนานๆ เช่น ช่างทาสี, นักวาดรูป, นักกีฬาว่ายน้ำ รวมถึงนักเพาะกายที่เพิ่มกล้ามเนื้อหน้าอกมากจนเกินไป จนกดทับเส้นประสาทบริเวณหน้าอก
โรค TOS อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ และมีหลายปัจจัยส่งเสริมให้เกิดอาการ ดังนั้นเมื่อรู้สึกถึงความผิดปกติของร่างกายตามอาการดังกล่าวไว้ข้างต้น ควรพบแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดที่เชี่ยวชาญ เพื่อตรวจร่างกายหาสาเหตุของโรค และการรักษาที่ตรงจุด จะทำให้คนไข้กลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข
เราเปิดทำการทุกวันเวลา 9.30 - 20.00 น.
กรุณาติดต่อช่องทางออนไลน์ เพื่อทำการนัดหมาย
Location:
อยู่ห้อง
B-13 ชั้น B-1 (ข้างออฟฟิศเมท) อาคารจัสมินซิตี้ อโศก
ปากซอยสุขุมวิท 23
https://goo.gl/maps/yc3JW
จอดรถฟรี 3 ชั่วโมง
Location: อยู่บนถนนรัตนาธิเบศร์ตัดราชพฤกษ์
อยู่ติด MRT บางรักใหญ่ ทางออก 2
https://goo.gl/maps/wTdR4
มีที่จอดรถ 4-5 คัน