• ไทย
  • English

คลินิกกายภาพบำบัด เบรน รีแฮบ

ใครบอกว่า “โรคข้อเข่าเสื่อม” เกิดเฉพาะในผู้สูงอายุ มาดูกันว่าโรคนี้คืออะไร แนวทางการชะลอภาวะการดำเนินโรคมีอะไรบ้าง รวมถึงแนวทางการรักษาด้วยวิธีต่างๆ และกายภาพบำบัด…

ผู้สูงอายุในประเทศไทย ร้อยละ 34.5-45.6 เป็นโรคนี้ และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนใหญ่พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และพบในผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตชนบทมากกว่าเขตในเมือง

โรคข้อเข่าเสื่อม คืออะไร

โรคข้อเข่าเสื่อม (Knee Osteoarthritis หรือ OA knee) คือ โรคที่มีการเสื่อมหรือสึกหรอของกระดูกอ่อนบริเวณผิวข้อเข่า (Articular Cartilage) อย่างชัดเจน รวมถึงกระดูกบริเวณใกล้เคียงนั้น จะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางโครงสร้าง ชีวกลศาสตร์ และทางชีวเคมี

โดยจะมีการดำเนินโรคไปอย่างช้าๆ และต่อเนื่อง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จะไม่สามารถย้อนกลับสู่สภาพเดิมได้ และอาจทวีความรุนแรงขึ้นตามเวลาที่ผ่านไป

Anatomy

ในสภาวะปกติ หมอนรองกระดูกเข่า (Meniscus) จะมีหน้าที่รับแรงกระแทกที่เกิดขึ้นบริเวณเข่า ส่วนกระดูกอ่อนผิวข้อ (Articular Cartilage) จะมีพื้นผิวที่เรียบเนียน เพื่อช่วยให้การเคลื่อนไหวของข้อเข่าไม่สะดุด

หลังจากใช้งานไปเรื่อยๆ ตามอายุที่เพิ่มขึ้น น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ลักษณะการใช้งานข้อเข่าในชีวิตประจำวัน น้ำในข้อเข่าที่น้อยหรือมากเกินไป รวมถึงอาการบาดเจ็บต่างๆ จะส่งผลให้หมอนรองกระดูกเข่าสึกหรอ ทำให้ช่องว่างระหว่างกระดูกเข่าแคบลง (Joint Space Narrowing)

รวมถึงอาจจะมีแคลเซียมมาเกาะเพิ่มขึ้น (Bone Spurs) ทำให้ผิวกระดูกอ่อนสึกและขรุขระ ส่งผลให้กระดูกอ่อนผิวข้อเข่าเสียดสีและบดอัดกับกระดูกหน้าแข้งโดยตรง เวลารับน้ำหนัก ทำให้เกิดอาการปวดในที่สุด

ประเภท

โรค OA Knee อาจแบ่งได้เป็น 2 ชนิด ตามสาเหตุของการเกิด ได้แก่

1. ข้อเข่าเสื่อมชนิดปฐมภูมิ (Primary Osteoarthritis) เป็นชนิดที่ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด มักเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ตามอายุที่เพิ่มขึ้น และตามลักษณะการใช้งาน มีทั้งแบบระบุตำแหน่งได้ เช่น เป็นที่ข้อเข่าทางด้านนอก ด้านใน ด้านหน้าบริเวณลูกสะบ้า และแบบภาวะข้อเสื่อมโดยทั่วไป (Generalized Osteoarthritis) กล่าวคือ เป็นทั้งมือ ข้อเข่า และหลังก็ได้

2. ข้อเข่าเสื่อมชนิดทุติยภูมิ (Secondary Osteoarthritis) เป็นชนิดที่ทราบสาเหตุแน่ชัด โดยมีปัจจัยที่ทำให้เกิดข้อเสื่อม เช่น

  • การเจริญเติบโตผิดปกติ เช่น กระดูกอ่อนเจริญผิดปกติ หรือภาวะข้อเคลื่อนแต่กำเนิด
  • ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ
  • มีการอักเสบของข้อต่อ มีการติดเชื้อ
  • ฯลฯ

ปัจจัยเสี่ยง

นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่ส่งเสริมให้เกิดโรคนี้ ได้แก่

  • อายุ เมื่ออายุมากกว่า 50 ปี พบว่ามีแนวโน้มเป็นโรคนี้เพิ่มขึ้น
  • พันธุกรรม
  • น้ำหนักเกิน ผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 30 มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคนี้
  • ฮอร์โมน วัยหมดประจำเดือนมีความสัมพันธ์กับอาการเสื่อมของข้อเข่าอย่างมีนัยยะสำคัญ
  • ลักษณะท่าทางในกิจวัตรประจำวันและการประกอบอาชีพ ผู้ที่ทำงานหรือมีกิจวัตรประจำวัน ที่บดอัดหรือเสียดสีข้อเข่าเป็นระยะเวลานานๆ เช่น นั่งยองๆ นั่งคุกเข่า เป็นอีกปัจจัยส่งเสริมที่ทำให้เกิดโรคนี้ด้วยเช่นเดียวกัน

จากการวิจัยของ Jensen LK ในปี 2000 พบว่า ผู้ที่ทำงานท่าคุกเข่าหรือนั่งยองๆ บ่อยๆ เช่น คนงานปูกระเบื้องที่ต้องนั่งยองๆ ขณะทำงาน พบ​อาการเสื่อมของข้อเข่าในระดับที่สูงกว่าช่างทาสีกำแพง

อาการ

1. อาการปวด ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมีอาการปวดตื้อๆ ทั่วไปบริเวณข้อเข่า ไม่สามารถระบุตำแหน่งได้ชัดเจน ซึ่งมักมีอาการปวดเรื้อรัง และเพิ่มขึ้นเมื่อใช้งานหรือลงน้ำหนัก ในทางกลับกัน อาการจะทุเลาลง เมื่อพักการใช้งาน หากโรครุนแรงขึ้น อาจจะทำให้ปวดตลอดเวลา หรือปวดเวลากลางคืนร่วมด้วย บางรายมีอาการตึงบริเวณข้อพับเข่าร่วมด้วย

อย่างไรก็ตาม โรค OA Knee ไม่จำเป็นต้องมีอาการปวดเข่าเสมอไป จากการศึกษาในคนเกาหลี พบว่า ประมาณร้อยละ 23 – 30 แม้ไม่มีอาการปวดเข่า แต่มีอาการเสื่อมของข้อเข่าชนิดรุนแรง

2. ข้อฝืด (Stiffness) ผู้ป่วยมักมีอาการข้อฝืดในช่วงแรกของการเคลื่อนไหว หลังจากพักเป็นเวลานาน พบได้บ่อยในช่วงตื่นนอนตอนเช้า อาจพบอาการฝืดเกิดขึ้นชั่วคราว ในท่างอหรือท่าเหยียดเข่า เรียกลักษณะอาการแบบนี้ว่า ปรากฏการณ์ข้อหนืด (Gelling Phenomenon)

3. มีเสียงดังกรอบแกรบ (Crepitus) หากท่านใดมีเสียงดังกรอบแกรบขณะเคลื่อนไหวข้อเข่า เช่น ขณะงอเข่าหรือเหยียดเข่า อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่า ข้อเข่าเริ่มสึกหรอจากการเสียดสีของเยื่อบุภายในข้อเข่า หรือเอ็นที่หนาตัวขึ้น รวมถึงอาจมีความขรุขระของผิวข้อเข่าก็เป็นได้

4. ข้อบวมผิดรูป (Swelling and Deformity) บางรายอาจมีอาการผิดรูปของข้อเข่า เช่น ขาโก่ง เข่าฉิ่ง มีอาการบวมจากกระดูกงอกบริเวณข้อเข่า (Bone Spurs) หรือมีน้ำในข้อเข่ามากหรือน้อยเกินไป อาจจะมีอาการใดอาการหนึ่งหรือหลายอาการรวมกัน ส่งผลให้เกิดอาการปวด

ในกรณีเข่าบวมจากการอักเสบ เนื่องจากน้ำในข้อเข่าเยอะเกินไป คุณหมออาจจะพิจารณาการดูดน้ำออก ในขณะที่ หากน้ำในข้อเข่าน้อยเกินไป อาจจะส่งผลให้ข้อเข่ามีอาการฝืด สามารถแก้ได้โดยวิธีทางกายภาพบำบัด เช่น การขยับข้อเข่า (Mobilization) หรือการออกกำลังกาย

5. สูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหวและการทำงาน ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถเดินได้สะดวก ปวดตลอดเวลา จะลุกหรือนั่งก็ลำบาก ขึ้นลงบันไดไม่ได้ เจ็บจนทนไม่ได้ ใช้ชีวิตประจำวันได้ไม่ปกติ

เคสที่ 1-4 คุณหมอจะพิจารณาการให้ยาควบคู่กับการทำกายภาพบำบัด

ส่วนเคสที่ 5 คุณหมอจะพิจารณาการผ่าตัด

***หากเริ่มเป็นโรคนี้ จะไม่สามารถหายได้เองตามธรรมชาติ ทำได้เพียงป้องกันและชะลอการดำเนินโรคเท่านั้น

ความรุนแรง

การตรวจทางรังสีวิทยา หรือ x-ray  สามารถนำมาใช้ในการบอกระดับความรุนแรงของภาวะเสื่อมของข้อเข่าได้

วิธีการหนึ่งที่ได้รับความนิยม คือ การแบ่งระดับความรุนแรงของ Kellgren-Lawrence (KL Classification) แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้

  • เกรด 0 ข้อเข่าปกติ กระดูกอ่อนมีลักษณะปกติ
  • เกรด 1 ช่องว่างระหว่างข้อเข่าลดลง และอาจมีปุ่มกระดูกงอกหรือยื่นเพียงเล็กน้อย ไม่ชัดเจน ซึ่งมีนัยยะสำคัญทางคลินิกน้อย
  • เกรด 2 มีปุ่มกระดูกงอกชัดเจน และมองเห็นการแคบของช่องว่างระหว่างข้อเข่า (Joint Space Narrowed)
  • เกรด 3 มีปุ่มกระดูกงอกชัดเจน อาจพบกระดูกงอกหลายที่ ช่องว่างระหว่างข้อเข่าลดลงปานกลาง และมีกระดูกงอกใต้กระดูกอ่อน และอาจเห็นภาพของกระดูกผิดรูป
  • เกรด 4 มีปุ่มกระดูกงอกชัดเจนขนาดใหญ่ ร่วมกับช่องว่างระหว่างข้อเข่าลดลงรุนแรง มีกระดูกงอกใต้กระดูกอ่อนเพิ่มมากขึ้น (Subchondral Sclerosis) มองเห็นภาพของการผิดรูปของกระดูกอย่างชัดเจน

ผลกระทบกับชีวิตประจำวัน

ผู้ป่วยเป็นโรค OA Knee ส่วนใหญ่จะมีอาการปวดร่วมด้วย บางรายอาจมีปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรง ส่งผลให้การเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน ทำได้ลำบาก เช่น การลุกขึ้นยืน การนั่งลงกับพื้น การนั่งยองๆ และการเดิน ฯลฯ ทำให้ทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ ได้ลดลง มีความเสี่ยงต่อการหกล้มเพิ่มขึ้น

เมื่อมีอาการข้อเข่าติดหรือผิดรูป เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าอาการรุนแรงขึ้น อาจจะรุนแรงจนกระทั่งพิการหรือไร้ความสามารถในที่สุด

แบบประเมิน WOMAC (Western Ontario and McMaster Universities Arthritis Index) สามารถใช้ประเมินได้ว่าภาวะความเสื่อมของข้อเข่า ว่ามีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันมากน้อยเพียงไร

โรคนี้ไม่เพียงแต่กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แต่ยังส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ของผู้ป่วย บางรายอาจมีภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล และนอนไม่หลับ รวมถึงการไม่มั่นใจในตนเอง เนื่องจากบุคลิกภาพที่แย่ลง

เป้าหมายการรักษา

เป้าหมายในการรักษา มีดังนี้

1. ผู้ป่วยและญาติควรมีความรู้ ความเข้าใจในตัวโรค รวมถึงแนวทางการปฏิบัติตัว ทราบขั้นตอนและวิธีการรักษา ตลอดจนภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ผู้ป่วยที่มีความรู้ในตัวโรคและเข้าใจวิธีการดูแลตนเอง จะสามารถบรรเทาอาการปวด และชะลอความเสื่อมของข้อเข่าได้ดีกว่าผู้ป่วยที่ไม่มีความรู้

2. รักษาและบรรเทาอาการปวด

3. ฟื้นฟูสภาพการทำงานของข้อเข่า ให้เป็นปกติหรือใกล้เคียงปกติมากที่สุด

4. ชะลอการดำเนินโรค

5. ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ทั้งในระยะฉับพลันและระยะเรื้อรัง

6. ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

7. ฟื้นฟูสภาพจิตใจของผู้ป่วย

แนวทางการรักษา

แนวทางในการรักษา มีดังนี้

1. การให้ความรู้ และการวางโปรแกรมการจัดการตัวเองของผู้ป่วย (Self-management and education) พบว่าผู้ป่วยที่มีความรู้ในโรคกระดูกและกล้ามเนื้อ และเข้าใจวิธีการดูแลตนเอง จะสามารถบรรเทาอาการปวด และชะลอความพิการที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้

2. การควบคุมน้ำหนัก หากผู้ป่วยลดน้ำหนักตัวลง จะทำให้ลดแรงที่กระทำต่อข้อเข่าลงได้

3. การรักษาโดยใช้ยา

4. การรักษาโดยการผ่าตัด เช่น

  • Arthroscopic Debridement
  • Joint Lavage
  • Osteotomy
  • Total Knee Arthroplasty (TKA) เป็นการผ่าตัดเอาผิวข้อที่เสียออก แล้วใช้ผิวข้อเทียมเปลี่ยนแทน
  • Radiofrequency Ablation (RFA) เป็นการจี้เส้นประสาทด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง

5. การรักษาโดยวิธีอื่นๆ เช่น

  • Tai chi
  • Yoga
  • การฝังเข็ม (Acupuncture)
  • Cognitive Behavioral Therapy (CBT)

กายภาพบำบัด

แนวทางการรักษาทางกายภาพบำบัด แบ่งออกเป็น

1. การออกกำลังกาย 
1.1 การออกกำลังกายบนบก เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและความทนทาน เพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหว หรือแม้แต่การออกกำลังกายแบบแอโรบิค ล้วนแล้วแต่ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดและเพิ่มความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆ ของผู้ป่วยโรคนี้ได้

การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและความทนทาน มักเน้นที่การออกกำลังกายขาและกล้ามเนื้อหน้าขา (Quadriceps) เป็นหลัก อาจจะมีหรือไม่มีอุปกรณ์ร่วมด้วยก็ได้ เช่น ยางยืด การออกกำลังกายแบบเกร็งกล้ามเนื้อ (Isometric Exercises) หรืออาจใช้เครื่องยกน้ำหนักแบบไอโซไคเนติก (Isokinetic Exercises)

นอกจากนี้ ยังอาจมีการฝึกการทรงตัว การฝึกระบบประสาทและกล้ามเนื้อ (Neuromuscular Training) เพื่อฝึกควบคุมการเคลื่อนไหว และสร้างความมั่นคงในระหว่างการเคลื่อนไหว รวมถึงเพิ่มทักษะการเคลื่อนไหวที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ระยะเวลาและชนิดของการออกกำลังกาย ขึ้นอยู่กับพยาธิสภาพของผู้ป่วยแต่ละราย ควรได้รับการประเมินและเลือกโปรแกรมการออกกำลังกายโดยนักกายภาพบำบัด เพื่อให้เหมาะสมกับอาการของแต่ละบุคคล

1.2 การออกกำลังกายในน้ำ (Aquatic Exercises) เป็นการออกกำลังกายในสภาพแวดล้อมที่ไม่มีแรงกระแทกต่อข้อเข่า ส่งผลให้การทำงานของข้อเข่าดีขึ้น และทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

2. Thermal Modality เป็นการใช้ความร้อนและความเย็นในการรักษา เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการลดปวด ไม่มีผลข้างเคียง ถ้าใช้อย่างระมัดระวัง

  • ความร้อน ช่วยให้การไหลเวียนเลือดดีขึ้น และผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
  • ความเย็น ทำให้หลอดเลือดหดตัว ลดอาการบวม และปิดกั้นกระแสประสาทที่รับความเจ็บปวด ทำให้รู้สึกปวดลดลง

มีการงานวิจัยที่น่าสนใจกล่าวว่า การนวดด้วยน้ำแข็ง 20 นาทีต่อวันเป็นเวลา 5 วันต่อสัปดาห์ ต่อเนื่อง 3 สัปดาห์ จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าขา (Quadriceps) ได้ดีกว่ากลุ่มควบคุม ส่วนอีกการทดลองหนึ่ง กล่าวว่า วิธีการคล้ายกันนี้ ช่วยลดอาการข้อเข่าบวม (Swelling) ได้อีกด้วย

3. Ultrasound Therapy

4. การกระตุ้นเส้นประสาทผ่านทางผิวหนัง (TENS) ในผู้ที่เป็นโรคนี้ การกระตุ้นเส้นประสาทสามารถช่วยในการลดปวดได้

5. ใส่ที่พยุงข้อเข่า (Knee Brace)

  • Tibiofemoral (TF) Brace เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการเสื่อมของข้อเข่า บริเวณข้อต่อระหว่างกระดูกขาท่อนบนและท่อนล่าง
  • Patellofemoral (PF) Brace เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการเสื่อม บริเวณหมอนรองกระดูกลูกสะบ้าทางด้านหน้าของข้อเข่า

6. การใช้เครื่องช่วยเดิน เช่น ไม้เท้า สามารถลดอาการปวดที่ข้อเข่าและเพิ่มคุณภาพชีวิตบางอย่างได้ เช่น สามารถเดินบนพื้นราบได้ไกลขึ้น

Assessment

Ultrasound

Shockwave Therapy - การรักษาทางกายภาพบำบัดด้วยคลื่นช็อคเวฟ - ช็อคเวฟ กายภาพ ใกล้ฉัน - shockwave therapy near me

​Shockwave

Electrical Stimulation

​Gun Massage

​Joint Mobilization

Manual Traction

​Stretching

​Hot/Cold Compress

Exercises

​Home Program

Posture Correction

คำถามที่พบบ่อย

กายภาพบำบัด เป็นศาสตร์ทางการแพทย์แผนปัจจุบัน ​ที่มุ่งเน้นการรักษา ส่งเสริม ป้องกันและฟื้นฟูสุขภาพแบบองค์รวม เพื่อช่วยให้คุณภาพชีวิตของคนไข้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การบรรเทาอาการปวด การเพิ่มประสิทธิภาพการเคลื่อนไหว หรือการฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกาย จากอาการบาดเจ็บหรือโรคต่างๆ โดยไม่ต้องใช้ยาและหลีกเลี่ยงการผ่าตัด แบ่งขั้นตอนการรักษาออกเป็น 3 ขั้นตอนหลักๆ ดังนี้

Manual Techniques เป็นเทคนิคในการรักษาด้วยมือ ที่ได้รับการอบรมและฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง เช่น การขยับข้อต่อ เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของข้อต่อและกล้ามเนื้อ (Mobilization) การขยับ ดัด ดึงข้อต่อ (Manipulation) การดึงคอ-ดึงหลัง (Manual Traction) และการยืดกล้ามเนื้อ (Stretching)
Modalities เป็นการใช้เครื่องมือทางกายภาพฯ เพื่อช่วยลดปวดและเสริมสร้างกล้ามเนื้อ เช่น เครื่องช็อคเวฟ เครื่องอัลตราซาวด์ และเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า
Exercises หลังจากที่อาการปวดลดลงแล้ว​การออกกำลังกายจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ รวมถึงเพื่อป้องกันการบาดเจ็บซ้ำ ในกรณีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จะเน้นการออกกำลังกายเฉพาะส่วนเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกาย เช่น ผู้ป่วยที่มีปัญหาในการเดิน จะเน้นฝึกกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวและกล้ามเนื้อส่วนล่างที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ 

กายภาพฯ จะช่วยให้คุณกลับมาเคลื่อนไหวได้อย่างมั่นใจ ลดปวด และใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ…

คนไข้สามารถติดต่อ ปรึกษาปัญ​หาเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง เรามีการติดตามอาการ ผลการรักษา ตลอดจนให้คำปรึกษาในการดูแลตนเองเบื้องต้น จนกว่าจะถึงนัดหมายครั้งถัดไป

นอกจากนี้ ทั้งสาขาอโศกและสาขานนทบุรี ยังมีที่จอดรถ เดินทางสะดวก อยู่ใกล้รถไฟฟ้า BTS หรือ MRT

นักกายภาพฯ ของเรามีประสบการณ์ทำงานไม่ต่ำกว่า 10 ปี ทำให้เชื่อมั่นได้ว่า คนไข้จะได้รับการรักษาที่ดีที่สุดและปลอดภัยที่สุด

ไม่มี เราเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับอาการของคนไข้ เช่น การกระตุ้นไฟฟ้า ไม่ได้เหมาะสมกับการรักษาทุกเคส ดังนั้น เราจึงใช้เวลาเพื่อโฟกัสกับการรักษาที่ได้ผลที่สุด

1. ตรวจร่างกายอย่างละเอียด ด้วยประสบการณ์ของนักกายภาพฯ แต่ละท่านที่มากกว่า 10 ปี คุณจึงมั่นใจได้ว่า จะได้รับการตรวจวิเคราะห์ที่แม่นยำ ค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการได้อย่างถูกต้อง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการรักษาทางกายภาพบำบัดที่มีประสิทธิภาพและตรงจุด

อาการปวดในตำแหน่งเดียวกัน อาจมีสาเหตุที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล ประสบการณ์ของนักกายภาพฯ ที่คลินิก จะช่วยตรวจประเมิน วางแผนการรักษา และดำเนินการรักษาให้เหมาะสมกับอาการของคุณโดยเฉพาะ เพื่อให้การฟื้นตัวเป็นไปอย่างรวดเร็วและยั่งยืน

หากคนไข้มีอาการที่รุนแรง น่าสงสัย หรือได้รับอุบัติเหตุ เราจะแนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจเพิ่มเติม เช่น X-Ray, CT Scan และ MRI เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ละเอียดยิ่งขึ้น ในทางกลับกัน หากมีผลการตรวจรังสีวินิจฉัยอยู่แล้ว สามารถนำมาใช้ประกอบการรักษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาให้ดียิ่งขึ้น

ในบางกรณี นักกายภาพฯ ของเราจะทำงานร่วมกับแพทย์ในการวางแผนการรักษา และร่วมมือกับ Fitness Trainer ในการออกแบบโปรแกรมการออกกำลังกาย เพื่อให้ผู้ป่วยกลับมาเคลื่อนไหวได้อย่างมั่นใจ และใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพสูงสุด

2. Manual Therapy นักกายภาพฯ ที่คลินิกของเรา ล้วนมีความเชี่ยวชาญด้าน Manual Therapy (หัตถบำบัด) ซึ่งเป็นเทคนิคสำคัญในการบรรเทาอาการอักเสบของจุด Trigger Point ซึ่งมักเป็นสาเหตุหลักของอาการปวดเรื้อรัง การรักษาประกอบด้วยหลายเทคนิค เช่น การยืดกล้ามเนื้อ (Stretching) เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและลดอาการตึงตัว การขยับข้อต่อและเนื้อเยื่อโดยรอบ (Mobilization) เพื่อเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหว และการดึงคอ-หลัง (Manual Traction) เพื่อลดแรงกดทับต่อเส้นประสาท

เทคนิคเหล่านี้ถือเป็นแนวทางการรักษาหลักทางกายภาพฯ ของประเทศสหรัฐอเมริกาและได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายทั่วโลก

3. เครื่องมือ คลินิกของเรายังนำเครื่องมือที่ทันสมัย (Modalities) เช่น เครื่องช็อคเวฟ (Shockwave) เครื่องอัลตราซาวด์ (Ultrasound) และเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า (Electrical Stimulation) มาประกอบการรักษา เพื่อช่วยคลายกล้ามเนื้อ ลดอาการอักเสบ และเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ฯลฯ

ทั้งนี้ นักกายภาพฯ จะเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการรักษาของแต่ละอาการ เช่น ผู้ที่มีภาวะกระดูกเสื่อม ควรหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องช็อคเวฟ (Shockwave) ในการรักษาบริเวณนั้นๆ เพื่อความปลอดภัย เป็นต้น

4. การออกกำลังกาย (Therapeutic Exercises) เป็นอีกหนึ่งในวิธีการรักษาหลักทางกายภาพฯ ในประเทศสหรัฐอเมริกา จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ให้มีความสมดุลกันทั้งสองฝั่ง ช่วยทำให้กล้ามเนื้อยืดหยุ่น เพิ่มองศาการเคลื่อนไหว (Increase Range of Motion) และป้องกันอาการบาดเจ็บซ้ำๆที่จุดเดิม 

นอกจากนี้ ยังช่วยปรับท่าทางในการใช้ชีวิตประจำวัน (Posture Correction) ไม่ว่าจะเป็นท่านอน ท่านั่ง ท่ายืนและท่าเดิน ให้ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ (Ergonomics) เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอาการบาดเจ็บในอนาคต

5. ให้ความรู้เกี่ยวกับตัวโรคและติดตามผลการรักษา เรามุ่งเน้นให้คนไข้มีความเข้าใจเกี่ยวกับรอยโรคหรือภาวะที่เป็นอยู่ เพื่อที่จะปฎิบัติตัวได้อย่างเหมาะสม และเพื่อหลี่กเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ นอกจากนี้ เรายังติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง ให้คำปรึกษา คำแนะนำ จนกว่ามั่นใจว่า คนไข้จะสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติอย่างมั่นใจ

สำหรับผู้ที่กำลังมองหา “คลินิกกายภาพบำบัด ใกล้ฉัน” ควรสอบถามแนวทางการรักษา เพื่อให้มั่นใจว่าแนวทางการรักษานั้นเหมาะสมกับตนเอง และอาการที่เป็น อีกทั้ง ควรเลือกคลินิกที่มีนักกายภาพฯ ที่มีประสบการณ์ และความสามารถในการตรวจร่างกายได้อย่างตรงจุด เพื่อการรักษาที่ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด หายเร็ว หายขาด ปลอดภัย และไม่กลับมาเป็นซ้ำ ท่านสามารถปรึกษาอาการเบื้องต้นกับเรา ได้ทางโทรศัพท์หรือทาง LINE OA

ร่างกายของเรามีความสามารถในการซ่อมแซมตัวเองได้ แต่เนื่องจาก เราจำเป็นต้องเคลื่อนไหวหรือใช้งานตลอดเวลา ทำให้การซ่อมแซมตัวเองเป็นไปได้ยากมากขึ้น ​หากมีอาการปวดที่ไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 วัน แนะนำให้เข้ามารักษาทางกายภาพฯ จะช่วยให้หายไวขึ้น อาการปวดจากการบาดเจ็บลดลง และป้องกันไม่ให้อาการเรื้อรัง

ขึ้นอยู่กับอาการ เช่น อาการเส้นเอ็นอักเสบจะใช้เวลารักษานานกว่ากล้ามเนื้ออักเสบ ส่วนโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ในบางกรณีสามารถรักษาเพื่อบรรเทาอาการปวด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะของโรค 

เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพสูงสุด ควรเข้ารับการรักษาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง เพื่อความต่อเนื่องของการรักษาและช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูได้เร็วขึ้น 

แม้ว่าระดับความทนต่อความเจ็บปวดของแต่ละคนจะแตกต่างกัน แต่การเข้ารับการรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการ จะช่วยให้หายเร็วและไม่เรื้อรัง

การรักษาทางกายภาพฯ จำเป็นต้องใช้ความต่อเนื่องในการเข้ารับการรักษา เพื่อให้หายขาด และป้องกันไม่ให้อาการกลับมา เนื่องจากคลื่นไฟฟ้าที่ใช้ในการรักษา จะได้ผลเฉพาะในช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น หากคนไข้หยุดการรักษากลางคัน ก็เปรียบเสมือนกับการรับประทานยาที่ไม่ครบโดส ซึ่งอาจทำให้มีโอกาสกลับมาเป็นใหม่ หรือกลายเป็นอาการเรื้อรังได้

จากสถิติของทางคลินิกฯ คนไข้ที่ได้รับการรักษาจนหายขาด จะไม่กลับมาเป็นซ้ำที่ตำแหน่งเดิม ภายในระยะเวลา 6 เดือน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการปรับพฤติกรรมของคนไข้ด้วย

การออกกำลังกายทางกายภาพฯ ไม่ได้เหมือนกับการออกกำลังกายทั่วไป เพราะเราจะเน้นการเสริมสร้างกล้ามเนื้อบริเวณที่มีปัญหา ​และออกแบบการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับ​สภาพร่างกายและปัญหาสุขภาพของแต่ละบุคคล ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่อ่อนแอ และป้องกันการบาดเจ็บซ้ำที่จุดเดิม 

นอกจากการรักษาแล้ว ยังเหมือนมีเทรนเนอร์ส่วนตัว ที่ช่วยออกแบบท่าออกกำลังกายเฉพาะบุคคลในการรักษาแต่ละครั้ง ให้เหมาะกับสภาพกล้ามเนื้อ ณ ขณะนั้น

โรคที่เกิดจากพันธุกรรม เช่น กระดูกสันหลังคดแต่กำเนิด หรือโรคประจำตัว เช่น เท้าชาจากเบาหวาน ที่ทำให้ปลายประสาทอักเสบ ฯลฯ

นัดหมาย

085-9966-353
ภาพบรรยากาศ นพ.คุณากร อัชชนียะสกุล มาเยี่ยมคลินิกกายภาพบำบัด เบรน รีแฮบ สาขาอโศก
ภาพบรรยากาศภายนอก ประตูทางเข้า คลินิกกายภาพบำบัด เบรน รีแฮบ สาขาอโศก
ภาพบรรยากาศภายใน ที่พักรับรอง กว้างขวาง ไม่อึดอัด คลินิกกายภาพบำบัด เบรน รีแฮบ สาขาอโศก
ภาพบรรยากาศภายใน ห้องตรวจ รักษา มีความเป็นส่วนตัว กว้างขวาง ไม่อึดอัด คลินิกกายภาพบำบัด เบรน รีแฮบ สาขาอโศก
ภาพบรรยากาศภายใน บริเวณโซนออกกำลังกาย คลินิกกายภาพบำบัด เบรน รีแฮบ สาขาอโศก
ภาพบรรยากาศภายใน กว้างขวาง ไม่อึดอัด คลินิกกายภาพบำบัด เบรน รีแฮบ สาขาอโศก
ภาพบรรยากาศภายใน กว้างขวาง โปร่งสบาย ไม่อึดอัด คลินิกกายภาพบำบัด เบรน รีแฮบ สาขาอโศก
ภาพบรรยากาศภายนอก คลินิกกายภาพบำบัด เบรน รีแฮบ สาขาอโศก บริเวณประตูทางเข้า
ภาพบรรยากาศภายนอก คลินิกกายภาพบำบัด เบรน รีแฮบ สาขาอโศก บริเวณล็อบบี้
ภาพบรรยากาศภายในห้องรักษา คลินิกกายภาพบำบัด เบรน รีแฮบ สาขาอโศก
ภาพบรรยากาศภายนอก ตึกจัสมิน อโศก ที่ตั้งคลินิกกายภาพบำบัด เบรน รีแฮบ สาขาอโศก

Business Hours

วันจันทร์-ศุกร์: 10.30 - 20.00 น.
วันเสาร์-อาทิตย์: 9.30 - 18.30 น.

Location

อยู่ห้อง B-13 ชั้น B-1 (ข้างออฟฟิศเมท)
Jasmine City ซ.สุขุมวิท 23 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
https://goo.gl/maps/yc3JW

Parking

จอดรถฟรี 3 ชั่วโมง
ภาพบรรยากาศ นพ.คุณากร อัชชนียะสกุล มาเยี่ยมคลินิกกายภาพบำบัด เบรน รีแฮบ สาขานนทบุรี
ภาพบรรยากาศภายนอก ป้ายหน้าร้าน คลินิกกายภาพบำบัด เบรน รีแฮบ สาขานนทบุรี
ภาพบรรยากาศภายนอก คลินิกกายภาพบำบัด เบรน รีแฮบ สาขานนทบุรี ทางลงรถไฟฟ้า สถานีบางรักใหญ่ ทางออก 2
ภาพบรรยากาศภายนอก ป้ายบิลบอร์ด คลินิกกายภาพบำบัด เบรน รีแฮบ สาขานนทบุรี
ภาพบรรยากาศภายนอก ป้ายหน้าร้าน ป้ายบิลบอร์ด คลินิกกายภาพบำบัด เบรน รีแฮบ สาขานนทบุรี
ภาพบรรยากาศภายใน บริเวณที่รับรอง คลินิกกายภาพบำบัด เบรน รีแฮบ สาขานนทบุรี
ภาพบรรยากาศภายใน บริเวณโซนออกกำลังกาย และฝึกผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) คลินิกกายภาพบำบัด เบรน รีแฮบ สาขานนทบุรี
ภาพบรรยากาศภายใน บริเวณโซนฝึกผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง คลินิกกายภาพบำบัด เบรน รีแฮบ สาขานนทบุรี
ภาพบรรยากาศภายใน บริเวณโซนออกกำลังกาย คลินิกกายภาพบำบัด เบรน รีแฮบ สาขานนทบุรี
โลโก้และภาพบรรยากาศภายนอก คลินิกกายภาพบำบัด เบรน รีแฮบ สาขานนทบุรี
ภาพบรรยากาศภายนอก คลินิกกายภาพบำบัด เบรน รีแฮบ สาขานนทบุรี

Business Hours

วันจันทร์-ศุกร์: 9.30 - 20.00 น.
วันเสาร์-อาทิตย์: 9.30 - 18.30 น.

Location

อยู่ติด MRT บางรักใหญ่ ทางออก 2
23/10 หมู่ 3, บางรักใหญ่, บางบัวทอง, นนทบุรี 11110
https://goo.gl/maps/wTdR4

Parking

มีที่จอดรถ 4-5 คัน
ที่จอดรถ เลี้ยวเข้าซอย อยู่หัวมุม