รู้หรือไม่ว่า คนไทยเป็นโรคกระดูกสันหลังคดมากกว่า 2% มาดูกันว่ากระดูกสันหลังคดคืออะไร แล้วกายภาพบำบัดสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยประเภทไหนได้บ้าง
กระดูกสันหลังคด หรือ Scoliosis คือ อาการผิดรูปของกระดูกสันหลัง โดยจะมีอาการคดโค้งออกไปทางด้านนอก รูปร่างคล้ายตัว C หรือ S
เมื่อมีภาวะกระดูกสันหลังคด จะทำให้ร่างกายเสียสมดุล อาจทำให้เกิดอาการปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดสะโพก
ในผู้ที่มีอาการรุนแรง จะรบกวนการทำงานของปอดและหัวใจ ทำให้หายใจได้ไม่เต็มที่ เหนื่อยง่ายอีกด้วย
สาเหตุการเกิดกระดูกสันหลังคด
- กระดูกสันหลังคดที่ไม่ทราบสาเหตุ มักพบในกลุ่มเด็กวัยรุ่นอายุ 10-15 ปี
- กระดูกสันหลังคดเนื่องจากภาวะกระดูกสันหลังเสื่อม
- กระดูกสันหลังคดจากท่าทางการนั่งที่ผิดปกติ
- กระดูกสันหลังคดจากการประสบอุบัติเหตุ
- กระดูกสันหลังคดตั้งแต่กำเนิด เกิดจากการสร้างกระดูกสันหลังในครรภ์มีความผิดปกติ
- กระดูกสันหลังคดจากโรคทางพันธุกรรม
อาการของโรคกระดูกสันหลังคด
- ไหล่ 2 ข้างไม่เท่ากันเมื่อยืนตรง
- กระดูกสะบักโก่งนูนมากขึ้น และข้างใดข้างหนึ่งสูงกว่าอีกข้าง
- ระดับสะโพก 2 ข้างไม่เท่ากัน
- ตัวเอียงไปข้างใดข้างหนึ่งอย่างชัดเจน
- เมื่อก้มตัว กล้ามเนื้อและซี่โครงฝั่งใดฝั่งนึงนูนขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด
ชนิดของกระดูกสันหลังคด แบ่งออกเป็น
- กระดูกสันหลังคดส่วนอก เป็นรูปตัว C
- กระดูกสันหลังคดส่วนเอว เป็นรูปตัว C
- กระดูกสันหลังคดช่วงอกและเอว เป็นรูปตัว C
- กระดูกสันหลังคนช่วงอกและเอวเป็นรูปตัว S
ปัจจัยเสี่ยงที่มักพบการเกิดกระดูกสันหลังคดบ่อยที่สุด ได้แก่
- อายุ : ช่วงอายุที่พบการเกิดกระดูกสันหลังคดอยู่ในช่วงวัยรุ่น ตั้งแต่ 10-18 ปี
- เพศ : อาการมักเกิดในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
- ประวัติครอบครัว : พบว่าคนไข้จำนวนหนึ่งมีคนในครอบครัวเป็นโรคกระดูกสันหลังคด
หากแต่ อาการกระดูกสันหลังคดในเด็กวัยรุ่น มักไม่พบคนในครอบครัวมีประวัติอาการนี้ เนื่องจาก โรคดังกล่าวเกิดจากการเจริญเติบโตของกระดูกที่รวดเร็วเกินไป ทำให้มีความผิดปกติ
ระดับความรุนแรงของภาวะกระดูกสันหลังคด แบ่งออกเป็น
- ระดับเริ่มต้น กระดูกเริ่มบิดมากกว่า 5 องศา ยังไม่ถือว่าเป็นกระดูกสันหลังคด แต่อยู่ในสถานะต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด
- ระดับเล็กน้อย กระดูกบบิด 10-25 องศา
- ระดับปานกลาง กระดูกบิด 25-45 องศา
- ระดับรุนแรง กระดูกบิดมากกว่า 45 องศา
โดยทั่วไป อาการกระดูกสันหลังคดจะส่งผลกระทบในเรื่องบุคลิกภาพและความมั่นใจ จะไม่เป็นอันตรายต่อคนไข้แต่อย่างใด ยกเว้นระดับรุนแรง ที่อาจเกิดผลกระทบกับการทำงานของปอดและหัวใจ
หากผู้ป่วยมีอาการไม่มาก อยู่ในระดับ เริ่มต้น-ปานกลาง สามารถลดองศาการบิดของกระดูกได้ โดยการทำกายภาพบำบัด โดยนักกายภาพบำบัดจะเน้นการออกกำลังกายเฉพาะส่วน เพื่อลดองศาของกระดูกที่คด รวมไปถึงการลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อ ร่วมกับการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เพื่อให้กล้ามเนื้อทั้ง 2 ฝั่งทำงานสมดุลกัน
รวมถึง การปรับท่าทางการใช้ชีวิตประจำวันให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้ส่งเสริมการเพิ่มองศาความคดของกระดูก
เราเปิดทำการทุกวันเวลา 9.30 - 20.00 น.
กรุณาติดต่อช่องทางออนไลน์ เพื่อทำการนัดหมาย
Location:
อยู่ห้อง
B-13 ชั้น B-1 (ข้างออฟฟิศเมท) อาคารจัสมินซิตี้ อโศก
ปากซอยสุขุมวิท 23
https://goo.gl/maps/yc3JW
จอดรถฟรี 3 ชั่วโมง
Location: อยู่บนถนนรัตนาธิเบศร์ตัดราชพฤกษ์
อยู่ติด MRT บางรักใหญ่ ทางออก 2
https://goo.gl/maps/wTdR4
มีที่จอดรถ 4-5 คัน