อายุยังไม่เยอะ แต่คุณมีอาการปวดลึกๆในข้อสะโพก คุณอาจจะกำลังมีอาการ ”ข้อสะโพกเสื่อม”
ทางเลือกในการรักษาข้อสะโพกเสื่อม มีแค่การผ่าตัดจริงหรือ เรามาหาคำตอบกัน...
ข้อสะโพกเสื่อม หรือ Hip Osteoarthritis เป็นอาการที่กระดูกอ่อนบริเวณผิวของข้อสะโพกค่อยๆเสื่อม ทำให้เกิดแรงเสียดทานระหว่างผิวกระดูก เคลื่อนไหวติดขัด และปวดข้อสะโพกในที่สุด พบได้ในทุกวัย มักกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การเดิน นั่ง ขึ้นบันได ขับรถ
ข้อสะโพกทำหน้าที่ในการงอและเหยียดในทุกอิริยาบถ เช่น การเดิน การนอน และการวิ่ง เป็นจุดรับน้ำหนักที่มากอันดับ 2 ของร่างกาย รองจากเข่า และมักต้องใช้งานทุกครั้งเมื่อมีกิจกรรมต่างๆ ทำให้เกิดการสึกหรอของผิวข้อ
อาการของข้อสะโพกเสื่อม
- ปวดสะโพกมากกว่า 3 เดือน มีอาการปวดร้าวมาบริเวณขาหนีบ สะโพก
- อาการปวดมักรุนแรงขึ้นตอนกลางคืน หรือขณะพัก
- จำกัดการเคลื่อนที่ เช่น เดินได้ระยะทางน้อยลง
- ข้อสะโพกติด ไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อสะโพกได้สุดช่วง
- บวม เพราะอาจเกิดจากการอักเสบรอบข้อต่อสะโพก
ระดับของอาการข้อสะโพกเสื่อม
- ระยะที่ 1: ข้อต่อสะโพกและเดือยของกระดูกฉีกขาดเล็กน้อย มักมีอาการปวดเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย
- ระยะที่ 2: กระดูกอ่อนเริ่มสลาย และการเจริญเติบโตของเดือยของกระดูก มักมองเห็นได้จากการเอ็กซ์เรย์ มีอาการต่างๆปวด รู้สึกไม่สบายและตึงที่สะโพก ระยะนี้เรียกอีกอย่างว่า “ข้อเข่าเสื่อมที่ไม่รุนแรง”
- ระยะที่ 3: กระดูกอ่อนเริ่มสึกกร่อนและช่องว่างระหว่างกระดูกสะโพกแคบลง กิจกรรมปกติ เช่น การเดิน คุกเข่า หรือนั่งยอง ๆ ทำให้เกิดอาการปวดและบวม ขั้นตอนนี้เรียกอีกอย่างว่า “ข้อเข่าเสื่อมระดับปานกลาง”
- ระยะที่ 4: เป็นระยะที่รุนแรงที่สุด กระดูกอ่อนใกล้หมด ซึ่งเป็นสาเหตุของการอักเสบเรื้อรัง รู้สึกปวดและตึงเกือบตลอดเวลา
สาเหตุของการเกิดข้อสะโพกเสื่อม ได้แก่
- อายุที่เพิ่มขึ้น
- พันธุกรรม
- น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น
- ใช้งานร่างกายอย่างหนัก
- มีประวัติบาดเจ็บที่ข้อสะโพก เช่น มีประวัติข้อสะโพกแตก หรือหลุด
- โรคประจำตัว เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือโรคข้ออักเสบอื่น ๆ
- การติดเชื้อบริเวณข้อสะโพก
- การใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์และการดื่มแอลกอฮอล์
แนวทางการรักษาทางกายภาพบำบัดแบบไม่ผ่าตัด
- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน
- การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต เช่น การลดน้ำหนัก สามารถช่วยลดแรงกดที่ข้อสะโพกได้
- การทำกายภาพบำบัด เช่น การรักษาอาการปวดด้วยเครื่องมือทางกายภาพบำบัด และการออกกำลังกายเฉพาะส่วน ที่เน้นกล้ามเนื้อมัดที่ช่วยพยุงการทำงานของข้อสะโพก เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและองศาการเคลื่อนไหว
- การใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน เช่นไม้เท้า หรือไม้สี่ขา เพื่อลดการลงน้ำหนักที่ข้อสะโพกอย่างรุนแรง
หากคุณเลือกการรักษาโดยวิธีผ่าตัด แนวทางการฟื้นฟูโดยกายภาพบำบัดหลังผ่าตัด มีดังนี้
- ระยะแรก – ป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด เช่น แผลติดเชื้อ ภาวะลิ่มเลือดดำอุดตัน และแผลกดทับ รวมไปถึงการฝึกเดินโดยใช้อุปกรณ์พยุง
- ระยะที่ 2 - ฟื้นฟูการเคลื่อนไหว เพื่อป้องกันข้อสะโพกติดและเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวของข้อสะโพกให้อยู่ในองศาที่ปกติ พร้อมกับค่อยๆฝึกการลงน้ำหนักโดยลดการใช้อุปกรณ์พยุงมากที่สุด
- ระยะที่ 3 – ฟื้นฟูความสามารถในการเดินและการทรงตัว มุ่งเน้นการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อสะโพก ต้นขา และฝึกการทรงตัวเพื่อป้องกันการหกล้ม
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีอาการข้อสะโพกเสื่อม สามารถปรึกษานักกายภาพบำบัดได้ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
เราเปิดทำการทุกวันเวลา 9.30 - 20.00 น.
กรุณาติดต่อช่องทางออนไลน์ เพื่อทำการนัดหมาย
Location:
อยู่ห้อง
B-13 ชั้น B-1 (ข้างออฟฟิศเมท) อาคารจัสมินซิตี้ อโศก
ปากซอยสุขุมวิท 23
https://goo.gl/maps/yc3JW
จอดรถฟรี 3 ชั่วโมง
Location: อยู่บนถนนรัตนาธิเบศร์ตัดราชพฤกษ์
อยู่ติด MRT บางรักใหญ่ ทางออก 2
https://goo.gl/maps/wTdR4
มีที่จอดรถ 4-5 คัน